การพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้รำโทนนกพิทิด: การละเล่นพื้นบ้านสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ของตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

เมธาวี จำเนียร
กรกฎ จำเนียร
ศศิพัชร บุญขวัญ
ทองพูล มุขรักษ์
ประภาศรี เพชรมนต์
สุรศักดิ์ แก้วอ่อน

บทคัดย่อ

            งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสื่อส่งเสริมการเรียนรู้รำโทนนกพิทิดของชุมชนและเพื่อพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้รำโทนนกพิทิดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากการขาดสื่อส่งเสริมการเรียนรู้รำโทนนกพิทิดซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่ชุมชนต้องการพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ขึ้นเพื่อรวบรวมบทเพลงรำโทนนกพิทิดเพื่อใช้ถ่ายทอดแก่เยาวชนและเป็นมรดกของชุมชน การวิจัยดังกล่าว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การประชุมกลุ่มย่อยร่วมกับคณะครู ปราชญ์ชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการนำไปทดลองใช้เพื่อประเมินผลสื่อการเรียนรู้ดังกล่าว ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนมีความต้องการสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบสิ่งพิมพ์หนังสือแบบเรียนรำโทนนกพิทิดเชื่อมโยงกับวีดิทัศน์แสดงการรำโทนนกพิทิดในลักษณะคิวอาร์โค้ด (QR code) จากการพัฒนาสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ดังกล่าว ทำให้ได้สื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระดับปฐมวัยและปฐมศึกษา ที่มาจากการลงพื้นที่ค้นคว้าหาข้อมูล การค้นหาจากเอกสาร การบันทึกภาพการรำโทนนกพิทิดเพื่อนำมาให้นักศึกษาสาขานาฏศิลป์ฝึกซ้อมเพื่อเป็นต้นแบบการรำในสื่อ การประเมินความถูกต้องจากปราชญ์ชาวบ้าน การบันทึกเสียงของปราชญ์ชาวบ้าน การบันทึกภาพท่ารำของนักศึกษาสาขานาฏศิลป์ และการเผยแพร่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจากการประเมินความพึงพอใจของตัวแทนคุณครูที่ได้นำไปสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ดังกล่าวไปทดลองใช้ พบว่า สื่อดังกล่าวสามารถสร้างการเรียนรู้รำโทนนกพิทิดแก่เยาวชนได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Jirotphan, W., Sakunaphat, P. and Cheuykeewong, K. 2008. Treasure of southern culture. Bangkok: Saengdao. (in Thai)
Kaeosanit, M. and Chamnian, K. 2015. The communcation approach to build teenagers' participation and conservation on ramtone-nokphithid in Nakhon Si Thammarat Province through using video media and online media. Office of the Higher Education Commission. (in Thai)
Masjaras, T. 2011. Model of educational management and creative learning source. Bangkok: Tharn Aksorn. (in Thai)
Patcharathanaroach, S., Suwannasri, P. & Kankhat, S. 2020. “Local wisdom conservation of 700-year-old lamp, Mae Taeng District, Chiang Mai Province”. Humanity and Social Science Journal, Ubon Ratchathani University, 11(1): 116-145. (in Thai)
_______. (2020). “Multimedia development according to local curriculum on wood carving learning management Hang Dong District Chiang Mai Province”. Sripatum Chonburi Journal, 16(4): 48-58. (in Thai)
Pilun-Owad, O. 2011. Persuasion Communication (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Popa, D. & Voinea, M. 2017. Social media – new form of learning community. The European Proceedings of Social & Behavioural Sciences EpSBS, pp. 1842-1850. Retrieved August
19, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/
317154951_Social_Media__New_Form_Of_Learning_
Community
Puksirivongchai, S. & Hongthong, V. 2020. “Development of learning media with community participation for an exhibition
in Jipathaphan Kubua village museum, Muang district, Ratchaburi province”. Silpakorn University Journal, 40(4): 20-35. (in Thai)
Sinthaphanon, S. 2018. Learning management of teacher for student in the 21st Century. Bangkok: 9119 Technique printing. (in Thai)
Teacher group discussion. January 19, 2021. (in Thai)
Tourism Authority of Thailand. 2002. Anu-San Au-Sor-Tor Magazine. Bangkok: Tourism Authority of Thailand. (in Thai)