การจัดการความรู้เพื่อสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูที่ได้รับผลกระทบจากการอพยพ บ้านวังใหม่ ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูหลังได้รับผลกระทบจากการอพยพ และ เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมศึกษาเอกสาร การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ เวทีสนทนากลุ่ม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ผังต้นไม้แห่งปัญหา, กรอบเหตุผลสัมพันธ์, แผนที่ผลลัพธ์, ดาบคู่ และตัวชี้วัดตามแนวทางการจัดการความรู้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ลีซูมีความทรงจำเกี่ยวกับวัฒนธรรมจากอดีตมาสู่ปัจจุบัน ได้แก่ประเด็น “ภาษา/วรรณกรรม” “ภูมิปัญญา/อาหาร/การแต่งกาย” และ “วิถีการดำเนินชีวิต/พิธีกรรม” นอกจากนี้ องค์ความรู้ส่วนใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูจะอยู่กับตัวบุคคลคือปราชญ์ชาวบ้าน ความรู้เหล่านี้ยังไม่ได้จัดเก็บอย่างเป็นรูปแบบ จึงได้รวบรวมข้อมูลโดยกำหนดความรู้หลักเรื่องวัฒนธรรม ได้แก่ ด้านภาษาและวรรณกรรม เรื่องประเพณีและพิธีกรรมของชุมชน เรื่องอาหาร ด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และปราชญ์/ผู้รู้ในชุมชน ผ่านแผนที่ชุมชนและปฏิทิน 12 เดือน การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรทางวัฒนธรรม รวมไปถึงการวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผลจากการจัดการชุดความรู้ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งผลให้ผู้คนในกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูและผู้คนภายนอกเกิดการยอมรับและเห็นถึงคุณค่า ความหมาย รวมถึงความสำคัญของวัฒนธรรม
ผลจากการจัดการชุด “ความรู้ทางวัฒนธรรม” ของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้สร้างเครื่องมือช่วยในการจัดเก็บความรู้ คือ “แผนที่ชุมชน” และ “ปฏิทิน 12 เดือน” ที่ได้จากบุคคลสำคัญในชุมชน มีการบรรจุชุดความรู้ทางวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อใช้เชื่อมโยงผู้คนของทั้งสองกลุ่มเกิดการยอมรับและเห็นถึงคุณค่า ความหมาย รวมถึงความสำคัญของวัฒนธรรม เพื่อใช้ชุดความรู้เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่มีอำนาจในสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรม และยึดโยงไปสู่ความสัมพันธ์กับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ การจัดการศึกษาของโรงเรียน พัฒนาหลักสูตรทางวัฒนธรรมชุมชนให้เด็กและเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม จนเกิดแรงจูงใจทั้งผู้ใช้หลักสูตรและชุมชน เพื่อปลดล็อคการถูกกดทับทางวัฒนธรรมกระแสหลัก ให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ สะท้อนในพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นทางวัฒนธรรมที่ได้รับการจัดสร้างขึ้นจากชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Assawarangseekul, N. (2019). Problems of ethnic groups in Thailand: cultural identity changes. Proceedings of RSU Research Conference 2019 (pp. 947-948). Pathum Thani: Rangsit University. (in Thai)
Ganjanapan, A. (1998). Ethnogenesis and cultural exchange [Research reports]. Bangkok: The Thailand Research Fund. (in Thai)
Ganjanapan, A. (2012). A review a half century of Thai studies. Chiangmai: Department of Sociology and Anthropology. Faculty of Social Sciences. Chiang Mai University. (in Thai)
Ganjanapan, A. (2015). Cultural areas in the development discourse. (pp. 19-21). Chiangmai: Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University. (in Thai)
Koonkan, N. 2013. Knowledge management on local culture of tambol Aomkred Pakkred district Nonthaburi province. Journal of Cultural Approach, 14(25), 19-20. (in Thai)
Prasobsukchokchai, et al. (2005). Knowledge Management. Bangkok: Thailand Productivity Institute. (in Thai)
Royal Institute. (1999). Dictionary of the Royal Institute. Bangkok: Nanmeebooks Publication. (in Thai)
Sukhumphan, S. & faculty. (2017). Development of knowledge management system locol wisdom for the promotion of community occupation. Journal of Industrial Education, 11(2), 163-180. (in Thai)
Supitchayangkool, S. (2014). The components of knowledge management in community hospital administration under the office of permanent secretary of the ministry of public pealth. [Doctoral dissertation, Christian University]. (in Thai)
Yaadi, S. (2020). Creation of new product identities of 5 Ethnic Group, Ban Wang Mai Sub-district, Rong Kho District, Lampang. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation (TSRI). (in Thai)