การพัฒนามาตรการในการคุ้มครองระบบยางพารา ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับมาตรการในพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 เพื่อคุ้มครองระบบยางพารา โดยมีกระบวนการในวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การสัมภาษณ์ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบยางพารา ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก ในแต่ละภาคตามจังหวัดที่มีการปลูกยางมากที่สุด จำนวน 400 คน 2) สนทนากลุ่ม ในประเด็นปัญหาของพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบอุตสาหกรรมยางเข้าร่วมสนทนากลุ่ม จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการระบบอุตสาหกรรมยางพารา กลไกทางกฎหมายก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบยางพารา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการผลิต การประกอบการ และการส่งออกยางพารา
ผลการวิจัยพบว่า ควรมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ต้องปรับปรุงประเด็นเกี่ยวกับการขยายพันธุ์ยาง การขออนุญาตผ่านด่าน
ศุลากรและอายุใบอนุญาต การบรรจุหีบห่อยางเพื่อใช้ในการส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อก่อให้เกิดการคุ้มครองระบบยางพารา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Agriculture and Cooperatives Commission. (2017). An overview of the whole system of rubber. Bangkok: Secretariat of the Senate. (in Thai)
Department of Agricultural Extension. (2008). A manual on agricultural Economic zone management policies for important farmers products. Bangkok: Agricultural Extension Research and Development Division. (in Thai)
Ministry of Industry. (2016). Strategy for the development of Thai Industry 4.0 over a period of 20 years (2017 -2536). Bangkok: Ministry of Industry. (in Thai)
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). Development plan national economy and society. Bangkok: Office of the Prime Minister. (in Thai)
Thongpan, S. (2015). The history of the entry of rubber in the Mekong, isan and basin regions Huay Klong. PathumThani: Thammasat University. (in Thai)
Sukmak, S. (1989). Rubber: academic documents. Bangkok: Agricultural Extension Research and Development Division.
(in Thai)