โบราณคดีคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) กลางเวียงเชียงใหม่

Main Article Content

khomsi meepukdee

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้น ในบริเวณ คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เชียงใหม่ และเพื่อศึกษาพัฒนาการการใช้พื้นที่ของคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) จากการศึกษาพบว่าคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เชียงใหม่ สร้างโดยเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) ในปี พ.ศ. 2416 ผลการศึกษาโบราณวัตถุ ส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนของกระเบื้องหลังคา รองลงมาคือ โบราณวัตถุประเภทเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อนำโบราณวัตถุที่ได้มาศึกษาร่วมกับผลของค่าอายุทางวิทยาศาสตร์แล้ว พบว่ามีความสอดคล้องกัน กล่าวคือ ผลของค่าอายุทางวิทยาศาสตร์คือ มีค่าอายุ 348+21 BP คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 โดยโบราณวัตถุที่นำไปหาค่าอายุคือ ข้าวสารเผาไฟ นอกจากนั้น โบราณวัตถุที่พบซึ่งเป็นเครื่องถ้วยจีนนั้น พบตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิงจนถึงสมัยราชวงศ์ชิงตั้งแต่สมัยกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22


จากหลักฐานโบราณคดี พัฒนาการของการใช้พื้นที่ แบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงแรก การใช้พื้นที่ในช่วงแรกก่อนสมัยล้านนา ช่วงที่สอง การใช้พื้นที่ในสมัยล้านนา และ ช่วงที่สาม การใช้พื้นที่ร่วมสมัยกับคุ้มเจ้าบุรีรัตน์  โดยชั้นวัฒนธรรมที่พบหลักฐานโบราณคดี พบในชั้นดินที่ 3-4  แบ่งย่อยออกเป็น 2 ระยะ คือก่อนอาณาจักรล้านนา และสมัยอาณาจักรล้านนา กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 19-22 และ ช่วงที่สาม การใช้พื้นที่ร่วมสมัยกับคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ ในชั้นดินที่ 2 ร่วมกับการสร้างคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ในกลางพุทธศตวรรษที่ 25

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

Auetrakulvit, P. Faculty of Archaeology, Silpakorn University. (2021, July 12). Interview.

Aukrabhodhiwong, P. (2019). History of architecture (Khum Chao Burirat (Maha Intra). Chiang mai: PattraPree press. (in Thai)

Chandavij, N. (1994). Chinese ceramics from Archaeological Sites in Thailand. Bangkok: Fine Arts Department. (in Thai)

Chotisukrat, S. (1972). Pra-Chum Tamnan Lanna Thai 2. Pranakorn: Odienstore. (in Thai)

Chotisukrat, S. (2020). Pra-Chum Tamnan LannaThai 1. Retrieved July 15, 2020, from https://www.facebook.com/ 876410722526337/posts/1615194935314575/ (in Thai)

Fine Arts Department. The 7th Regional Office Fine Arts, Chiang Mai. (2019). The report of archaeological evidences in Chiang Mai Province. Chiang Mai: The 7th Regional Office Fine Arts. (in Thai)

Liu, X. (2020, May, 21). graduate student, Art and Culture Management, (Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University. (2020, May, 21). Interview.

Meechubot, W. (2018). Wiang kaew from Khum Luang to khaug Luang Nakra Chiang Mai. Retrieved October 14, 2018, from www.silpa-mag.com/history/article_5445 (in Thai)

Premchit, S. (1997). Tamnan Sib-ha Rachawong. Chiang mai: Social research Institute, Chiang Mai university. (in Thai)

Sangpetch, J. Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. (2020, May, 21). Interview.

Srisuwan, C. (2018). Lanna house architectural style and decorative ornaments. Chiang Mai: Chiang Mai university press. (in Thai)

Thammapreechakorn, P. Archaeologist. (2021, May 20). Interview.