การศึกษาองค์ความรู้วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระยาฆานฆาก ฉบับวัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง “การศึกษาองค์ความรู้วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระยาฆานฆาก ฉบับวัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระยาฆานฆาก ฉบับวัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อวิเคราะห์คุณธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระยาฆานฆาก ฉบับวัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยผู้วิจัยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research)
ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อตั้งแต่โบราณกาลนานมา ธรรมเทศนา พระยาฆานฆากจะนำมาเทศนาเพื่อใช้ในพิธีขอน้ำฝนยามที่บ้านเมืองเกิดความ แห้งแล้ง ตามประเพณีดั้งเดิมของชาวอำเภอลับแล ธรรมเทศนาพระยาฆานฆากจะนิยมนำมาเทศนาโปรดภิกขุ อุบาสก อุบาสิกาและเหล่าพุทธศาสนิกชนในช่วงเข้าพรรษา โดยใช้เวลาในการประกอบพิธีประมาณ 4 วัน เนื้อหาธรรมพระยาฆานฆาก จะแตกต่างจากพระธรรมเทศนาทั่วไป คือจะเป็นภาษาเหนือที่มีลักษณะเหมือนการแต่งกระทู้ธรรม โดยจะขึ้นต้นนำด้วยพระคาถาบาลี แล้วอธิบายเป็นร้อยแก้วแบบภาษาล้านนา ที่มีความละเมียดละไมในการใช้ภาษา เนื้อหาของการเทศน์เป็นการสั่งสอนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทำดีละเว้นความชั่ว พร้อมทั้งยังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมไว้อีกด้วย
คุณธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องพระยาฆานฆาก ฉบับวัดม่อนปรางค์ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรากฏทั้งหมด 8 ประการด้วยกัน ประกอบด้วย 1. ความขยัน 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความมีวินัย 4. ความสุภาพ 5. ความสะอาดกาย 6. ความสะอาดใจ 7. ความสามัคคี และ 8. ความมีน้ำใจ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว