สตรีในบทละครร้องเรื่องสาวิตรี ของหม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทละครร้องเรื่องสาวิตรี พระนิพนธ์ในหม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล เป็นบทละครร้องเรื่องสาวิตรี ฉบับแรกในประเทศไทย จัดแสดงครั้งแรกใน
เดือนมีนาคมปีพุทธศักราช 2458 บทละครดังกล่าวนำเสนอภาพลักษณ์ของ
นางสาวิตรีที่โดดเด่นสองประการ ได้แก่ การเป็นสตรีผู้ซื่อสัตย์ต่อความรัก และการเป็นสตรีผู้รู้จักประมาณตน ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนหลักของท่านหญิงที่
มุ่งสอนบรรดาลูกศิษย์เมื่อครั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี อีกทั้งสอดคล้องกับธรรมะตามปรากฏในเรื่องสาวิตรีที่อยู่ในวรรณคดีสันสกฤต เรื่องมหาภารตะ บทละครร้องเรื่องนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นยุวสตรีไทย และเยาวชนไทย ดังนั้นพระองค์ทรงเลือกใช้กลวิธีการนำเสนอลักษณะของตัวละครตามพระดำริอย่างตรงไปตรงมาในสรุปตอนท้ายเรื่อง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว