ความสัมพันธ์ระหว่าง การศึกษา อายุแรกสมรส และภาวะเจริญพันธุ์สมรส

Main Article Content

ธนานนท์ บัวทอง
วิราภรณ์ โพธิศิริ

บทคัดย่อ

ในช่วงเวลาที่ประชากรมีจำนวนบุตรตลอดช่วงวัยเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทน การเลือกใช้มาตรวัดระดับภาวะเจริญพันธุ์ส่งผลต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาของสตรีกับระดับภาวะเจริญพันธุ์ โดยบทความนี้
ใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะเจริญพันธุ์ของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2552 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการถดถอยปัวซอง โดยผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม
1) สตรีที่มีการศึกษาสูงมี “จำนวนบุตรเกิดรอด” ต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบกับสตรี
ที่มีการศึกษาต่ำ เช่นเดียวกับสตรีที่มีอายุแรกสมรสสูงกว่า มีภาวะเจริญพันธุ์สมรส
ต่ำกว่าโดยเปรียบเทียบกับสตรีที่มีอายุแรกสมรสต่ำกว่า โดย 2) ผลการวิจัยมีความแตกต่างระหว่างการพิจารณาด้วยภาวะเจริญพันธุ์สมรสในปัจจุบัน (อายุ 25-34 ปี) เปรียบเทียบกับภาวะเจริญพันธุ์สมรสโดยสมบูรณ์ (อายุ 45-54 ปี) และ 3) ความแตกต่างของอายุแรกสมรสระหว่างสตรีที่มีการศึกษาแตกต่างกัน ไม่มากพอที่จะเป็นช่องทางในการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับภาวะเจริญพันธุ์สมรส

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)