การบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง ในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

จันทร์แรม เรือนแป้น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของชุมชนต้นแบบในจังหวัดสุพรรณบุรี 3) สำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 4) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองในจังหวัดสุพรรณบุรี ประชากร คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 482 คน ในพื้นที่ 13 ตำบล ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสำรวจ และการจัดสนทนากลุ่ม และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับข้อมูล
เชิงปริมาณ


ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรีมีพัฒนาการในหลายด้าน แต่ยังคงมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการ และวิธีการเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกกองทุน 2) การบริหารจัดการกองทุนให้ประสบความสำเร็จมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของชุมชนและประสบการณ์การทำงานพัฒนาของคณะกรรมการกองทุน 3) ความพร้อมของสมาชิกกองทุน และประโยชน์ทางสังคมที่ได้รับจากกองทุนอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาในการดำเนินงานกองทุนอยู่ในระดับปานกลาง 4) แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชน ได้แก่
การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการชุมชนแก่ประชาชน การเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานกองทุน การสร้างความสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย และ การบริหารจัดการกองทุนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพึ่งตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)
Author Biography

จันทร์แรม เรือนแป้น

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) ศึกษาความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนของชุมชนต้นแบบในจังหวัดสุพรรณบุรี 3) สำรวจสภาพปัจจุบันและปัญหาในการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 4) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองในจังหวัดสุพรรณบุรี ประชากรการวิจัย คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง ประกอบด้วยผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ประธานและคณะกรรมการบริหารกองทุนสวัสดิการในชุมชนต้นแบบ 2 แห่ง จำนวน 28 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทุนระดับตำบล จำนวน 9 คน ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ 13 ตำบล มีจำนวนทั้งสิ้น 482 คน การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสำรวจ และการจัดสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และการวิเคราะห์ทางสถิติสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ  ผลการวิจัย พบว่า 

1.     การดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรีมีพัฒนาการในหลายด้าน แต่ยังคงมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความสามารถในการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการ และวิธีการเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิกกองทุน 

2.     การบริหารจัดการกองทุนให้ประสบความสำเร็จมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของชุมชน และประสบการณ์การทำงานพัฒนาของคณะกรรมการกองทุน 

3.     ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อความพร้อมของคณะกรรมการบริหารกองทุน ความพร้อมของสมาชิกกองทุน และประโยชน์ทางสังคมที่ได้รับจากกองทุนอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาในการดำเนินงานกองทุนอยู่ในระดับปานกลาง 

4.     แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนสวัสดิการชุมชนมี 4 แนวทาง ได้แก่ 4.1 การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการชุมชนแก่ประชาชน 4.2 การเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานกองทุน 4.3 การสร้างความสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย และ 4.4 การบริหารจัดการกองทุนแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพึ่งตนเอง