จาก “เจ้าปู่” ถึง “พญาศรีสุทโธโพธิสัตว์”: การปรับเปลี่ยนจักรวาลวิทยาในความเชื่อเรื่องพญานาคของผู้คนคำชะโนด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงแนวคิดจักรวาลคติของชุมชนบริเวณคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีคติความเชื่อเรื่องพญานาคเป็นความเชื่อดั้งเดิม และเป็นศูนย์กลางจักรวาลคติของคนท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงความเชื่อในเรื่องพญานาคที่คำชะโนด แบ่งออกเป็น
2 ช่วงเวลา คือ ช่วงแรก ตั้งแต่เริ่มตั้งชุมชนช่วงทศวรรษ 2480 จนถึงทศวรรษ 2500 พญาศรีสุทโธนาคถูกจัดวางสถานะเป็น “เจ้าปู่” ผีบรรพบุรุษผู้ให้กำเนิดสรรพชีวิต มีอำนาจเหนือมนุษย์ และเป็นดวงวิญญาณผู้พิทักษ์รักษาชุมชน ช่วงที่สอง ในช่วงทศวรรษ 2510 จนถึงทศวรรษ 2550 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเชิงอุดมการณ์ที่เกิดจากรัฐไทย ส่งผลให้ความเชื่อเรื่องนาคผสานกับคติ
ทางพระพุทธศาสนา ทำให้ศรีสุทโธนาคดำรงฐานะ “พระโพธิสัตว์” สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะเฉพาะของศาสนาพื้นบ้านในพื้นที่คำชะโนด ซึ่งความเชื่อเรื่องพญานาค
เป็นรากฐานทางความคิดของคนท้องถิ่นในการปรับเปลี่ยนอุดมการณ์ทางศาสนาแบบใหม่ให้สอดคล้องกับคติดั้งเดิม
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว