การศึกษารูปแบบการให้บริการสาธารณะ โดยหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ: กรณีเรือนจำเอกชน ประเทศญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการยกระดับ
การให้บริการสาธารณะด้านการบังคับใช้กฎหมายในงานราชทัณฑ์ เพื่อนำเสนอแนวทางการให้บริการสาธารณะด้านการบังคับใช้กฎหมายโดยหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐที่เหมาะสมกับบริบทประเทศไทย โดยใช้กรณีศึกษา เรือนจำเอกชนเพื่อการฟื้นฟูผู้ต้องขังมิเนะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเรือนจำเอกชนแห่งแรกของประเทศญี่ปุ่น การเก็บข้อมูลวิจัยใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการเข้าไปสังเกตภายในพื้นที่จริง
ผลการวิจัย พบว่า ระบบการให้เอกชนริเริ่มในการลงทุนแทนรัฐ เป็นการใช้วิธีการให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนในด้านงบประมาณและองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญในการก่อสร้าง การบำรุงรักษา และการบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐ โดยสาเหตุที่ทำให้เอกชนสนใจและตัดสินใจเข้ามาลงทุนนั้น เกิดจากการที่เอกชนรู้ถึงผลลัพธ์แบบได้ประโยชน์สองฝ่าย โดยเอกชนได้ประโยชน์ทั้งการโฆษณากิจการของตนและการมีส่วนร่วมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ผลประโยชน์ที่รัฐญี่ปุ่นได้ ประกอบด้วยความคุ้มค่า ความประหยัด มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเกิดโอกาสทางเศรษฐกิจที่มีต่อชุมชนท้องถิ่น สำหรับความเป็นไปได้ของไทยในการนำระบบดังกล่าว มาใช้ตามตัวแบบกรณีศึกษา พบว่า เป็นไปได้ยาก ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างแต่สามารถปรับแนวทางที่ดีบางส่วนมาใช้ในงานราชทัณฑ์ในรูปแบบ “รัฐลงทุนสร้าง เอกชนบริหาร” โดยพิจารณาทบทวนบทบาทภารกิจที่ควรต้องส่งมอบให้เอกชนที่มีศักยภาพสูงเข้ามาดำเนินการแทนรัฐ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว