ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) กรณีศึกษาตำรวจภูธรภาค 6 จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พัฒนพันธ์ เขตต์กัน
ยุวดี พ่วงรอด

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากร ที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชน ผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) และเพื่อศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการส่งเสริมความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดขนาดด้วยตารางสำเร็จรูปของ “Taro Yamane” ที่จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและนำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ One Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า


ระดับความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) ทั้งหมด 7 ด้าน พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มาพบปะ และรองลงมาตามลำดับ คือ ด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจมีวิธีการออกตรวจ โดยการหยุดพบปะ พูดคุย และสอบถามปัญหาจากประชาชนโดยตรง ด้านความเป็นมิตรและเป็นกันเอง ด้านการแต่งกาย ด้านการให้ความรู้ คำแนะนำ ด้านกิริยาวาจา และด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจออกตรวจ โดยขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ผ่านไปมาในพื้นที่ โดยไม่มีการหยุดพบปะ พูดคุย กับประชาชน


ส่วนเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากร ที่มีต่อความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา เขต ภ.จว. ไม่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) ทั้งหมด 7 ด้าน ส่วนสถานภาพสมรส อาชีพ รายได้เฉลี่ย/เดือน มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk)


 ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการส่งเสริมความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) พบว่า การให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในยุคปัจจุบันนั้น ถือเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงพื้นที่ตรวจสอบดูแลความเรียบร้อยทุกระยะ ตระหนักและใส่ใจถึงความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากยิ่งขึ้น ทำให้ประชาชนอุ่นใจ มีการเข้ามาพูดคุยถามไถ่ถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ คอยให้คำแนะนำ ให้ความรู้ และให้ประชาชนเฝ้าระวังสังเกตบุคคลที่เข้ามาในชุมชนว่า มาในรูปแบบใด หากผิดสังเกต ผิดปกติก็ให้ประชาชนแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้โดยตรง เนื่องด้วยในเขตพื้นที่ 9 จังหวัดของภาคเหนือตอนล่าง ยังต้องมีการสอดส่องดูแลในเรื่องของปัญหายาเสพติด อาชญากรรม การพนัน ฯลฯ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ตามแนวทางการหยุด เดิน พูด คุย กับประชาชน (Stop, Walk and Talk) ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงนับว่าเป็นแนวทางที่ดี และประชาชนต่างให้ความสำคัญโดยต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน คือ สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างตำรวจและประชาชน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)