รูปแบบและพฤติกรรมในการใช้บริการศาสตร์พยากรณ์ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดแนวคิดของการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า (Slow travel) ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในปัจจุบันทั้งในระดับนานาชาติ และประเทศไทย ทั้งนี้พบว่าแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1970 จากกระแสการต่อต้านวัฒนธรรมเร่งด่วนในประเทศอิตาลี โดยเหตุการณ์สำคัญได้แก่การประท้วงการสร้างร้านแม็คโดนัลด์ (McDonald) ในกรุงโรม เนื่องจากชาวอิตาลีไม่ยอมรับการขยายตัวของอาหารจานด่วนแบบอเมริกันที่กลายเป็นมาตรฐานของโลกซึ่งเป็นวิถีการบริโภคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนในท้องถิ่น กระทั่งนำไปสู่การเกิดแนวคิดการบริโภคอาหารแบบเนิบช้า (Slow food) ในเวลาต่อมา
แนวคิดการบริโภคอาหารแบบเนิบช้า ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป และนำไปสู่การเกิดแนวคิดเกี่ยวกับความเนิบอื่นๆ อีก เช่น แนวคิดการใช้ชีวิตในเมืองแบบเนิบช้า (Slow city) แนวคิดการแพทย์แบบเนิบช้า (Slow medicine) แนวคิดการตลาดแบบเนิบช้า (Slow market) และนำไปสู่การเกิดแนวคิดการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า (Slow travel) ซึ่งหมายถึงการท่องเที่ยวที่ใช้ระยะเวลานานเพียงพอเพื่อจะได้เรียนรู้และเกิดความเข้าใจในลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น อันเป็นหนทางสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable tourism) ได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ตัวอย่างของการท่องเที่ยวแบบเนิบช้า เช่น การเดินเท้าเพื่อการท่องเที่ยว (Walking tourism) การขี่จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว (Cycling tourism) การเดินทางโดยรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว (Train tourism) และการท่องเที่ยวในตัวเมือง (Urban tourism) เป็นต้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว