การทวงหนี้อย่างไรให้ชอบด้วยพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในสภาวะที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนในประเทศมีปัญหาทางการเงิน บางรายไปก่อหนี้ในระบบโดยมีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมอย่างถูกต้องชัดเจน และชำระดอกเบี้ยในอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่อย่างไรก็ดี พบว่ามีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องไปพึ่งพิงหนี้นอกระบบโดยจำต้องชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด หากไม่ชำระหรือชำระหนี้ไม่ตรงเวลาก็อาจถูกทวงถามหนี้ซึ่งใช้วิธีการที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้ถ้อยคำที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างร้ายแรง การคุกคามโดยการขู่เข็ญ การใช้กำลังประทุษร้าย หรือการทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ฯลฯ จากปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบทางสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรากฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาและผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดาเป็นพิเศษ คือ พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 โดยสาระสำคัญจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการทวงถามหนี้ และกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไว้เป็นการเฉพาะเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลการทวงถามหนี้ทั้งหนี้ในระบบและหนี้นอกระบบ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม แต่กระนั้นก็ดี พบว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังมีช่องว่างทางกฎหมายบางประการ เนื่องจากลูกหนี้หรือผู้กู้ยืมอาจตกอยู่ภายใต้อำนาจตลอดจนอิทธิพลของเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมทำให้เกิดความเกรงกลัวไม่กล้าที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย นอกจากนี้ลูกหนี้หรือผู้กู้ยืมบางรายยังไม่ทราบถึงวิธีการที่จะได้รับการปฏิบัติในการทวงถามหนี้ ทำให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ดี หากมีการดำเนินคดีเพื่อลงโทษเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ยืมที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการในการทวงถามหนี้อย่างเด็ดขาดและมีการเผยแพร่ความรู้ถึงสิทธิของลูกหนี้ผู้ให้กู้ยืมทราบ อีกทั้งมีการปลูกฝังให้ประชาชนมีวินัยทางการเงินย่อมส่งผลทำให้ปัญหาการกู้ยืมเงินและการทวงถามหนี้มีจำนวนลดลงอีกทั้งส่งผลให้สังคมเข้าสู่การบังคับใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ และสอดคล้องกับหลักนิติธรรมอย่างแท้จริง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ประชาชาติธุรกิจ. 2559. SCB EIC วิเคราะห์นาโนไฟแนนซ์ทางออกของหนี้นอกระบบ ? https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=142796303 8. 11 กรกฎาคม.
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. 2559. ดอกเบี้ยไม่เป็นธรรม ต้นตอหนี้ไม่รู้จบ. https://www.consumerthai.org/main/index.php?option=com_cont ent&view=article&id=524:2009-07-24-09-48-42&catid=212:2012- 05-15-06-11-28&Itemid=65. 30 มิถุนายน.
ศาลฎีกา. 2560.คำพิพากษาศาลฎีกา. https://deka.in.th/view-419880.html. 16 มีนาคม.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2559. เกณฑ์ที่สถาบัน การเงินใช้พิจารณาสินเชื่อ. https://www.1213.or.th/th/serviceunderbot/loans/Pages/beforelo an.aspx. 7 กรกฎาคม.
ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม. 2554. คู่มือประชาชน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง. 2559. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายในการ กำกับดูแลและแก้ไขปัญหาเจ้าหนี้นอกระบบ.
https://www.fpo.go.th/FPO/modules/Content/getfile.php?content fileID=2896. 12 กรกฏาคม.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. กระทรวงการคลัง. 2559. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการใช้มาตรการทางกฎหมายในการ กำกับดูแลและแก้ไขปัญหาเจ้าหนี้นอกระบบ.
https://www.fpo.go.th/e_research/ebook/pdf_file/1341904897.pdf 12 กรกฎาคม.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2559. การ สำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.
https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries11.html. 11 กรกฎาคม.