ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสบู่สมุนไพร

Main Article Content

น้ำฝน คูเจริญไพศาล
สุทัตตา ธรรมภัทรกุล
สุภาพร ลาภมา

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสบู่สมุนไพรสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ฯ และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง จังหวัดกรุงเทพฯ จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องสบู่สมุนไพร  แบบประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว วัดผลการเรียนรู้โดยการประเมินตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละและการทดสอบค่าทีแบบตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลการประเมินคุณภาพชุดกิจกรรมฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( =4.21,S.D.=0.25)  ผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมฯอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( =4.12,S.D.=0.12) เพราะนักเรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติกิจกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2552. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษณา อุดมโภชน์, ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์, และ สุภาพร พงศ์ภิญโญโอภาส. 2556. ผลของการสอนแบบโครงงานที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 3(5): 43-53.

จิราวรรณ สอนสวัสดิ์ ชุติมา วัฒนะคีรี และราชันย์ บุญธิมา. 2554. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และ

ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา. 3(5): 40-47.

ชญาพันธุ์ สุธร. 2556. การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning : PBL). จุลสารกองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร. 4(15): 6

ชาตรี เกิดธรรม. 2547. เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, กรุงเทพมหานคร.

โชติรส ตระกูลกำเนิด, ปิยะณัฐ อินทร์แถม, สุพัตรา บุญเส้ง และ น้ำฝน คูเจริญไพศาล. 2556. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์เรื่องสารเคมีในบ้าน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 29(2): 187-205.

นิพนธ์ ศุขปรีดี. 2525. เทคโนโลยีทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.

บัวซ้อน ตำมะ, ชุติมา วัฒนะคีรี และ ราชันย์ บุญธิมา. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์และชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา. 3(6): 95-105.

บุปผา จุลพันธ์. 2550. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปิยธิดา ลออเอี่ยม, สุรัตนา พุทธพงษ์, อาริตา ปิ่นสุวรรณ และน้ำฝน คูเจริญไพศาล. 2557. การพัฒนาชุดกิจกรรม

วิทยาศาสตร์เรื่องมหัศจรรย์ปฏิกิริยาเคมีเพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว. 30(2): 57-75.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์,พเยาว์ ยินดีสุข, และราเชน มีศรี. 2553. การสอนคิดด้วยโครงงาน.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศูนย์ หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวิณี โฆมานสิน. 2553. ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงานที่มีต่อการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ลัดดา ภู่เกียรติ. 2552. การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542. แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

วารีรัตน์ สติราษฎร์. 2553. การพัฒนาชุดกิตกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารรอบตัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและ การสอน). พิษณุโลก: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจารณ์ พานิช. 2555. ครูเพื่อศิษย์ วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

วิมลรัตน์ มากทรัพย์. 2555. การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ทรัพยากรน้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนอัสสัมชัน กรุงเทพฯ. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เวทกา หนูเพ็ชร. 2550. การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำเสียในชุมชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.

ศศิมา อินทนะ ชูศรี วงศ์รัตนะ และชวลิต รวยอาจิณ. 2552. ผลของการจัดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ประกอบการประเมินตามสภาพจริงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. 10(1):105-110.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. 2558. สอบถามค่าสถิติพื้นฐานทั่วประเทศ (ทุกระดับ). สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2558, จาก
http://www.onetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Notice/FrBasicStat.aspx

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558. หลักสูตรเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ “โครงงานวิทยาศาสตร์”. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2555. การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สิทธิพล อาจอินทร์ และ ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. 2554. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.1(1): 1-16.

สายชล รื่นรวย และลัดดา ศุขปรีดี. 2556. การพัฒนาชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 9(1): 145-153.

Bloom, Benjamin S. 1976. Individualized instruction programs and materials.Cliffs, New York: McGraw-Hill.

Guzdial, M. (1998). Technological support for project-based learning. Association for Supervision and Curriculum Development [On-line]. Available: http://ww.vnweb.hwwilsonweb.com/hww
/login/jhtml.

Kapfer, Philip and Mirian Kapfer. 1972. Learning Package in American Education. New Jersey: Education Technology Publication.

Notari, M., Baumgartner, A. & Herzog, W. 2014. 'Social skills as predictors of communication, performance and quality of collaboration in project‐based learning'. Journal of Computer Assisted Learning 30(2): 132-147.

Thomas, J.W. 2000. A Review of Research on Project-based Learning. Http://www.newtechnetwork.org.590elmp01.blackmesh.com
/sites/default/files/dr/pblresearch2.pdf. 1 March.