กลุ่มสายบุรี ลุกเกอร์ : การสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้

Main Article Content

กนกพร มาลัยหอม
กานดา จันทร์แย้ม
เก็ตถวา บุญปราการ

บทคัดย่อ

                  งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสร้างเครือข่ายทางสังคม และกิจกรรมทางสังคมของกลุ่มสายบุรีลุกเกอร์ อันจะนำไปสู่การดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์แกนนำหลักของกลุ่มสายบุรี ลุกเกอร์ จำนวน 3 คน จากทั้งหมด 4 คนตามความสมัครใจ และผู้ให้ข้อมูลซึ่งเคยร่วมกิจกรรมหรืออาศัยในพื้นที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ไซเบอร์เฟซบุ๊กแฟนเพจ SAIBURI LOOKER ตลอดจนภาคีเครือข่ายของกลุ่มสายบุรี ลุกเกอร์ จำนวนทั้งหมด 30 คน ผลการศึกษาพบว่าการสร้างเครือข่ายทางสังคมและการทำกิจกรรมทางสังคมของกลุ่มสายบุรี ลุกเกอร์เกิดขึ้นผ่านพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ พื้นที่กายภาพในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ไซเบอร์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ SAIBURI LOOKER โดยสมาชิกที่เป็นคนสายบุรีโดยกำเนิด ซึ่งทุกคนล้วนมีความสนใจในเรื่องเดียวกันและมีเป้าหมายเดียวกัน ทั้งนี้การขยายเครือข่ายทางสังคมเริ่มต้นด้วยการทำกิจกรรมบนพื้นที่กายภาพในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี และพื้นที่ไซเบอร์บน เฟซบุ๊กแฟนเพจ SAIBURI LOOKER ผ่านงานศิลปะ ประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า และภาพถ่ายในอดีตเพื่อเชื่อมโยงให้เกิดความรู้สึกร่วมกันถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตของอำเภอสายบุรี อันนำไปสู่การดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุขโดยปราศจากความหดหู่หรือความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

เก็ตถวา บุญปราการ เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์ เบญจพร ดีขุนทด และนันทรัฐ สุริโย. 2557. “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ”: พื้นที่ต่อรองของแรงงานข้ามชาติและความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจชายแดนไทย-พม่า. ว.คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.31: 39-62.

เกสรบัว อุบลสรรค์. 2558. สรุปเสวนาเรื่อง “ฟื้นเมืองสายจากนักเฝ้ามองแห่งสายบุรี”. http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5055. 25 ธันวาคม.

คืนความทรงจำสายบุรีจังหวัดที่หายไป. 2556. http://www.deepsouthwatch.org/node/7. 28 พฤศจิกายน.

เครือข่ายทางสังคม. 2558. http://www.edu.tsu.ac.th/major/administeration
/data/FE511/%.doc. 5 กุมภาพันธ์.

นฤมล นิราทร. 2543. การสร้างเครือข่ายการทำงาน : ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพฯ : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

นักเฝ้ามองแห่งสายบุรี-SAIBURI LOOKER. 2559. http://furd-rsu.org/?p ag e _id=1143. 5 กุมภาพันธ์.

เบญจพร ดีขุนทด. (2555, ตุลาคม). การศึกษาเกี่ยวกับความทรงจำทางสังคม. มหาสารคม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เบญจวรรณ นาราสัจจ์. (2553). พฤษภาคม-สิงหาคม 2553. ความทรงจำต่ออดีตในงานมรดกศึกษา(Heritage Studies) บทสำรวจเบื้องต้น, วารสารลุ่มน้ำโขง (6) ฉบับที่ 2,หน้า 30

ปฐมบทแห่งลุ่มน้ำสายบุรี. 2558. http://muslImchIangmaI.net/index.php?topic
=689.0;wap2. 4 กันยายน.
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมืองศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต. 2558. “สายบุรี…เท่าที่รู้”. http// furd-rsu.org/?page_id=1143. 9 สิงหาคม.

พงษ์สมัญ ศิริพันธ์, วารุณีย์ จารุลักขณา และ อนุศิษฎ์ คงคาวงศ์ประทีป. 2557. เครือข่ายแรง งานสวนยางชาวอีสานในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. โครงงานวิจัยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

ภัทรภร พลพนาธรรม, ปาริชาติรัตนบรรณสกุล และปรมาภรณ์สุกใส. 2553. เครือข่ายทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวตลาดน้ำบางน้อย อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม. http://ssruir.ssru.ac.th/bitstr eam/ssruir/387/1/097-53.pdf. 28 มกราคม.

ระวิ แก้วสุกใส และชัยรัตน์ จุสปาโล. (2556). เครือข่ายสังคมออนไลน์ : กรณี เฟสบุ๊ค (Facebook) กับการพัฒนาผู้เรียน, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฉบับพิเศษ, 198-199

สายบุรี...เท่าที่รู้. 2559. http://furd-rsu.org/?page_Id=1143. 5 กุมภาพันธ์.

สิทธิชัย ศรีวงษา. 2554. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในอำเภอเมืองปัตตานีหลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต: มหาวิทยาลัย ทักษิณ

สิทธิชัย ศรีวงษา. 2554. การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในอำเภอเมืองปัตตานีหลังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต: มหาวิทยาลัย ทักษิณ

เสียงจากสายบุรีวันนี้ยังหวาดภัย. 2555. http//www.thairath.co.th /content/259306. 22 ธันวาคม.

อริษา สโมสร. 2557. เครือข่ายทางสังคมของหวยใต้ดินในตำบลหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช. สารนิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต: มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์

อเนก รักเงิน. (2549, มกราคม). ม้งกับหลักศีลธรรมคำสอนของขงจื้อ และการรื้อสร้างอดีต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เอกรินทร์ ต่วนศิริ. 2557. เครือข่ายประชาสังคมชายแดนใต้ท่ามกลางความรุนแรง (ตอนที่ 2: การขับเคลื่อนประชาสังคมชายแดนใต้ : มองผ่านประสบการณ์ของ 4 เครือข่าย). ว.รูสะมีแล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 35: 59-72.

วลัยลักษณ์ ทรงศิริ . (2559, 25 กุมภาพันธ์). ทางโทรศัพท์

ฮาดีย์ หะมิดง. (2559, 25 กุมภาพันธ์). ทางโทรศัพท์

อานัส พงศ์ประเสริฐ์. (2558, 28 กุมภาพันธ์). ที่ชุมชนปะเสยะวอ ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดตานี.

ฟาอิส พงศ์ประเสริฐ. (2559, 19 เมษายน). ทางโทรศัพท์.

นภัสสร นุ้ยสุวรรณ. (2558, 18 พฤษภาคม). ที่ถนนดับเพลิง อำเภอสายบุรี จังหวัดตานี.

รัศมินทร์ นิติธรรม. (2558, 18 พฤษภาคม). ที่ถนนดับเพลิง อำเภอสายบุรี จังหวัดตานี.

ฮาดีย์ หะรีดา. (2558, 18 พฤษภาคม). ทางโทรศัพท์