แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เอกชัย คุปตาวาทิน
พัลลภ พรมสาเพ็ชร
วาสนา ช่อมะลิ
ทายวุฒิ โพธ์ทองแสงอรุณ

บทคัดย่อ

                   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ กรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยใช้แผนผังสายธารคุณค่าและระบบต้นทุนฐานกิจกรรม จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเกษตรกรจำนวน 373 ราย ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้แผนผังสายธารคุณค่าเพื่อวิเคราะห์ความสูญเปล่าในการไหลแต่ละสายการไหล สามารถลดเวลาในแต่ละสายการไหลได้ดังนี้ สายการไหลที่ 1 เมื่อกำจัดความสูญเปล่าออกทำให้เวลาจากเดิม 5,818.84 นาที ลดลงเหลือ 5,328.84 นาที หรือลดลงร้อยละ 8.42 และสายการไหลที่ 2 เมื่อกำจัดความ สูญเปล่าออกทำให้เวลาจากเดิม 5,822.17 นาที ลดลงเหลือ 5,328.84 นาที หรือลดลงร้อยละ 8.47 และผลของการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ พบว่า ต้นทุน โลจิสติกส์รวมของเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 334.79 ของมูลค่าขายทั้งหมด โดยแบ่งต้นทุนโลจิสติกส์ รวมออกเป็น 3 ส่วน คือ ต้นทุนด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต คิดเป็นร้อยละ 209.22 ถือได้ว่าเป็นต้นทุนที่สูงที่สุด ต้นทุนการขนส่งคิดเป็นร้อยละ 103.33 และต้นทุนการเคลื่อนย้ายผลผลิตในพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 22.24 ตามลำดับ และจากผลการวิจัยทำให้ผู้ผลิตสามารถทราบโครงสร้างต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปสู่การตัดสินใจในการลดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าได้ แนวทางการลดต้นทุนโลจิสติกส์ สามารถทำได้โดยการรวมกลุ่มสมาชิกเครือข่ายผู้ผลิตมันสำปะหลัง เพื่อวางแผนการผลิตภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งศูนย์กลางกระจายผลผลิต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

กัลยกร เกษกมล. 2552. การประยุกต์ใช้สายธารคุณค่าในการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการบริหารจัดการคำสั่งซื้อ กรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ . วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เทศบาลตำบลบ้านค้อ. 2559. ข้อมูลสภาพทั่วไปของตำบล. https:// bankhor.go.th/public/genera l/data/index/menu/212. 3 มีนาคม.

ธำรง เมฆโหรา, ปัญญา หมั่นเก็บ, ปรเมศร์ อัศวเรืองพิภพ, และ วลัยลักษณ์ อัตฐีรวงศ์. 2551. การศึกษาระบบลอจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานของโคเนื้อในประเทศไทย. รายงานวิจัยโครงการขยายโอกาสธุรกิจเนื้อโคไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.).

ภัสสร นนทรีย์. 2554. แนวทางการพัฒนาการให้บริการสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

รุจิรา เอี่ยมสอ้าง. 2552. การวิเคราะห์ต้นทุนโลจิสติกส์ของโซ่อุปทานข้าวโพดฝักอ่อนในเขตจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

รุธิร์ พนมยงค์. 2559. การวัดประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ : ไอทีแอลเทรด มีเดีย จำกัด. หน้า 81-83.

วัลยา ศรีจันทร์ดร. 2553. การลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยใช้ การวิเคราะห์ต้นทุนฐานกิจกรรมของโรงงานผลิต กระดาษทราย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2558. รายงานจำนวนครัวเรือน เนื้อที่ปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยวผลผลิต ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ ผลผลิตเฉลี่ย/เนื้อที่เก็บเกี่ยว และราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยของมันสำปะหลังเดือน ตุลาคม 2557 ถึง กันยายน 2558. ขอนแก่น: สำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2557. สถิติการเกษตรของประเทศไทยปี 2556. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เอกชัย คุปตาวาทิน, พัลลภ พรมสาเพ็ชร และวาสนา ช่อมะลิ. 2559. “การศึกษาการลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดชัยภูมิ”. วารสารปัญญาภิวัฒน์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน – ธันวาคม 2559: หน้า 89 - 98.

Yamane, Taro. 1973. “Statistics: An Introductory Analysis”. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.