การพัฒนาสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม ตำบลโนนก่อ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สุวภัทร ศรีจองแสง

บทคัดย่อ

   บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านบากชุมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสินค้าของที่ระลึกที่สะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน  ศึกษาระดับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าของที่ระลึกในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม จังหวัดอุบลราชธานี และนำเสนอรูปแบบสินค้าของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบากชุม งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากการเก็บแบบสอบถามนักท่องเที่ยวกลุ่มตัวอย่าง 400 คน รวมถึงการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มชาวบ้านจากชุมชน 5 คน กลุ่มหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในด้านนโยบายและแผนการพัฒนาชุมชนในด้านต่างๆ หน่วยงานละ 2 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายสรุปความกับการใช้สถิติพรรณนา


                  ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพสมรส อาชีพส่วนใหญ่ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 30,001 -  40,000 บาท ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อของที่ระลึกชุมชนบ้านบากชุมในปัจจุบัน สามารถแบ่งความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสินค้าที่ระลึกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านการสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ความต้องการอยู่ในระดับมาก ซึ่งให้ความสำคัญเรื่องของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสะท้อนความเป็นอัตลักษณ์ด้านศิลปหัตถกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน (2) ด้านคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ ความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจะให้ความสำคัญเรื่องของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของที่ระลึกมีความแข็งแรงและคงทน อยู่ในระดับมากที่สุด และ (3) ด้านคุณค่าของงานศิลปะและความงาม ความต้องการอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจะให้ความสำคัญเรื่องของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผลิตจากวัสดุในท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด นอกจกนี้ชุมชนต้องเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของที่ระลึกนั้นชุมชนควรมี่จะพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นทันสมัยมากขึ้น ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย การเพิ่มกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมในการออกแบบของที่ระลึกเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางใจให้กับสินค้าสินค้าและสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในท้องถิ่นเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาไม่ให้สูญหาย โดยอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับทรัพยากรท้องถิ่นและสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวด้วย


ดังนั้นรูปแบบสินค้าของที่ระลึกที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนบ้านบากชุมนั้น ชุมชนบ้านบากชุมควรเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวชุมชนบ้านบากชุมซึ่งถ่ายทอดจากของที่ระลึกโดยการสื่อความหมายผ่านภูมิปัญญาชุมชนการดำน้ำลึกและการทำเฟอร์นิเจอร์จากไม้ใต้น้ำ ทั้งในรูปแบบพวงกุญแจ ของประดับตกแต่งโดยการเพิ่มเรื่องราวความเชื่อในผลิตภัณฑ์ อีกทั้งควรเพิ่มงานที่มีความทันสมัยขึ้น เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ในแบบสมัยใหม่มากขั้น รวมถึงการใส่ความคิดสร้างสรรค์ในของที่ระลึก การสร้างรวดลายของที่ระลึกบนพื้นฐานของอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนบ้านบากชุม ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับราคาสินค้าที่ได้ซื้อ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research paper)

References

ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์. 2537. บทความวิชาการด้านการท่องเที่ยว. เล่ม 2 .เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แทตติยา ทองใบ. 2553. การพัฒนาศักยภาพการจัดการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประชิต ทิณบุตร. 2550. การออกแบบของที่ระลึก. Art Chandra UBI Club: ชุมนุมบ่มเพาะวิสาหกิจศิลปะและการออกแบบ อาร์ตจันทรา

เพ็ญศรี เจริญวานิช และคณะ. 2546. การพัฒนาตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง : สำนักงานกองทุนวิจัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วิรุณ ตั้งเจริญ. 2526. การออกแบบ.กรุงเทพฯ.วิฌวลอาร์ต.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. 2538. กลยุทธ์การตลาดการบริหารการตลาดและกรณีตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.

แสนศักดิ์ ศิริพานิช และคณะ. 2547. โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นเมืองเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ : สำนักงานประสานงานการพัฒนาและการจัดการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน. สำนักงานกองทุนวิจัย.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ICOMOS Australia. 1999. The Burra Charter: The Australia ICOMOS Charter for Places of Cultural Significance. Australia: ICOMOS