การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการ สร้างความรู้ของผู้เรียนบนพื้นฐานภูมิปัญญา และมิติวิถีไทยเรื่องดิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้บนพื้นฐานภูมิปัญญาและมิติวิถีไทย กลุ่มเป้าหมายเป็น ครูผู้สอนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 10 โรงเรียน จำนวน 16 คน และนักเรียน ชั้นประถมศึกษาที่ 4 จำนวน 271 คน และผู้เชี่ยวชาญด้าน จำนวน 12 ท่าน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา แบบ Type I ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) กระบวนการออกแบบและพัฒนา พบว่า กระบวนการการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ฯ ที่สังเคราะห์โดยอาศัยพื้นฐานทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างความรู้ตามปรัชญา สังคม วัฒนธรรมและ วิถีไทย รวมทั้งค่านิยมพื้นฐานและภูมิปัญญาไทย มี 12 องค์ประกอบ และ 2) กระบวนการประเมิน พบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้ฯ มีคุณภาพ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ (1) การประเมินผลผลิต (2) การประเมินบริบทการใช้ (3) การประเมินด้านความคิดเห็นของผู้เรียน (4) การประเมินด้านความสามารถทางด้านการปฏิบัติ และ (5) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
สาโรช บัวศรี. 2526. จริยธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สุชาติ วัฒนชัย และคณะ. 2550. การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด. รายงานการวิจัย โครงการวิจัยประเภทอุดหนุนทั่วไป. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุชาติ วัฒนชัย และคณะ. 2551. การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้ทางสมองของผู้เรียน โดยใช้ Brain-Based Learning.รายงานการวิจัยโครงการวิจัยประเภททุนอุดหนุนทั่วไป. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมน อมรวิวัฒน์. 2542. การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โอ-เดียนสโตร์.
สุมาลี ชัยเจริญ และอิศรา ก้านจักร. 2547. การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. ในเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ การวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ.
สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. 2550. ศึกษาศักยภาพด้านการคิดของผู้เรียนที่เรียนจากนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพด้านการคิด. รายงานการวิจัย โครงการวิจัยประเภทอุดหนุนทั่วไป. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุมาลี ชัยเจริญ. 2547. “ผลการใช้สื่อบนเครือข่ายร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ วิชา 212 501 เทคโนโลยีการสอน ของนักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู”. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน, 1(3), 13-21.
สุมาลี ชัยเจริญ. 2557. การออกแบบการสอนหลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์แอนนาออฟเซต.
Jih, H.J. & Reeves, T.C. 1992. “Mental models: a research focus for interactive learning systems”. Educational Technology Research and Development, 40 (3), 39-53.
Jonassen, D.H. & Henning, P. 1999. “Mental Model: Knowledge in the head and knowledge in the world.” Education Technology, 39 (3), 37-42.
Mayer, R. E. 1992. “Cognition and instruction: Their historic meeting within educational psychology”. Journal of Educational Psychology, 84, 405-412.
Richey, R. C. and Klein, J. 2007. Design and developmental research. New Jersey: Lawrence.
Seels, B. 1989. “The Instructional Design Movement in Educational Technology”. Educational Technology. 29(5), 11-15.