การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการเงินต่อการรับทหาร กองประจำการ: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
สัดส่วนของประชากรที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.1 ในปี พ.ศ. 2563 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในวัยแรงงานจึงเป็นนโยบายเร่งด่วน การวิจัยครั้งนี้ประยุกต์ใช้เครื่องมือทางการเงิน เพื่อประมาณการผลตอบแทนส่วนเพิ่มจากความแตกต่างพฤติกรรมก่อนและหลังฝึกของทหารกองประจำการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ คือทหารกองประจำการจากพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ผลการศึกษาโดยรวมพบว่า การฝึกทหารกองประจำการให้ผลส่วนเพิ่มที่เป็นการประเมินพฤติกรรมทหาร กองประจำการ และรายได้การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยมีระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างเป็นปัจจัยหลักเพื่อแบ่งแยกผลตอบแทนส่วนเพิ่ม ทั้งนี้ ผู้ผ่านการฝึกที่มีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญามีผลตอบแทนภายในจากการรับราชการทหารกองประจำการสูงที่สุด สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของการวิจัยครั้งนี้ คือ แม้การฝึกทหารใหม่จะให้ผลตอบแทนเชิงบวก แต่ควรมีกลไกที่เป็นมาตรการทางการเงิน อาทิ การจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอาชีพของทหารกองประจำ โดยกำหนดรูปแบบวิธีการจัดหาเงินทุนอย่างชัดเจน เป็นต้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
ชนธีร์ บุญศิริยะ. 2546. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของทหารกองประจำการในกรมทหารอากาศโยธิน รักษาพระองค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. 2550. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2558. ข้อมูลสภาวะการทำงาน. https://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/RealSector/Pages/Index.aspx. 22 มีนาคม 2558.
วรรณภา พัวเวส และวชิระ ชาวหา. 2551. “กระบวนการเกณฑ์และฝึกอบรมทหาร กองประจำการกองทัพอากาศที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย” วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 4 (2): 62 – 76.
สิทธิพร มุกะสิน. 2547. แรงจูงใจในการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการของทหารกองเกิน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิกิพีเดีย. 2558. ข้อมูลรายจังหวัดในประเทศไทย. https://th.wikipedia.org/wiki. 22 กุมภาพันธ์ 2558.
สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2556. การนำเสนอข้อมูลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2564). โรงแรมเซ็นทรัลเวิลด์ วันที่ 6 สิงหาคม 2556.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2557. การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่อครัวเรือน จำแนกตามภาค และจังหวัด พ.ศ. 2541 – 2558.
https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries11.html. 20 ตุลาคม 2559.
Alisdair M. 2013. “Search for financial returns and social security privatization”. Review of Economic Dynamics, 16 (2): 253–270.
Cook T.D., & Campbell D.T. 1979. Quasi experimentation: Design and analysis Issues for field setting. Boston, M.A.
Eisenberg R., Fasolo P., & Davis L.V. 1990. “Perceived organizational support and employee: Diligence, commitment, and innovation”. Journal of Applied Psychology. 74(52): 128–146.
Kerlinger F.N. & Lee H.B. 2000. Foundations of behavior research 4th edition, Wadsworth-Thomas Learning.