การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและคุณภาพการส่งมอบงานโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย ด้วยวิธีการตรวจสอบคุณภาพตาม มาตรฐาน ISO/IEC 29110 กับวิธีการตรวจสอบคุณภาพแบบ 3 ระยะ ที่มีการนำมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มาใช้ร่วมด้วย
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของหน่วยงานรัฐในไทยมักประสบปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า สาเหตุหลักมาจาก
ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานตามสัญญาได้ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการบริหารโครงการที่ขาดประสิทธิภาพ แม้จะมีมาตรฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่ทั้งในและต่างประเทศแล้วก็ตาม ปัญหานี้ยังคงเกิดขึ้น ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและคุณภาพการส่งมอบงานโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย ด้วยวิธีการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 กับวิธีการตรวจสอบคุณภาพแบบ 3 ระยะ ที่มีการนำมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มาใช้ร่วมด้วย และเป็นผลให้ผู้รับจ้างสามารถส่งมอบงานให้กับหน่วยงานของรัฐได้ตามสัญญา ฯ ในการศึกษานี้ จะประกอบไปด้วย ผลการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพและคุณภาพการส่งมอบงานโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย โดยใช้มาตรฐาน ISO/IEC 29110 เพียงอย่างเดียว (โครงการระหว่างปี พ.ศ.2554 - 2557 จำนวน 31 โครงการ มีการส่งมอบงานจำนวน 97 งวด) กับประสิทธิภาพและคุณภาพการส่งมอบงานโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย ด้วยวิธีการตรวจสอบแบบ 3 ระยะ (โครงการระหว่างปี พ.ศ.2558 - 2565 จำนวน 77 โครงการ มีการส่งมอบงานจำนวน 241 งวด) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย z-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติระหว่างสองวิธี ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพและคุณภาพการส่งมอบงานโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยวิธีการแบบ 3 ระยะ ที่มีการนำมาตรฐาน ISO/IEC 29110 มาใช้ร่วมด้วย สามารถส่งมอบงานได้ตามกำหนดระยะเวลาของสัญญาและไม่โดนปรับทุกงวด และการส่งมอบงานส่วนใหญ่มีคุณภาพ ร้อยละ 99.2 ซึ่งให้ผลแตกต่างจากวิธีตามมาตรฐาน ISO/IEC 29110 เพียงมาตรฐานเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (z = -2.930, p = .003) สำหรับการการวิจัยครั้งต่อไป ควรทดลองใช้วิธีตรวจสอบคุณภาพแบบ 3 ระยะร่วมกับมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ในการทำงานแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ โดยระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารบริหารธุรกิจมีทั้งเเบบวารสารออนไลน์เเละวารสารเล่มฉบับ
** บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะผู้เขียนบทความแต่ละท่าน กองบรรณาธิการวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเสรีด้านความคิดและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของ
กองบรรณาธิการ **
** บทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความแต่ต้องอ้างอิงแสดงที่มาของวารสารที่นำไปคัดลอกให้ชัดเจน**
References
สำนักงบประมาณของรัฐสภา. 2567. ข้อมูลการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี. แหล่งข้อมูล: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parbudget/ewt_dl_link.php?nid=1080&filename=payment. ค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567.
Taghi Zadeh M. and Kashef R. 2022. The Impact of IT Projects Complexity on Cost Overruns and Schedule Delays. Available: https://arxiv.org/abs/2203.00430. Retrieved 31 July 2024.
Laporte, C. Y., O'Connor, R., and Fanmuy, G. 2013. International systems and software engineering standards for very small entities. CrossTalk: The Journal of Defense Software Engineering, 24(3), 28-33.
Laporte, C. Y., Hébert, C., and Mineau, C. 2014. Development of a social network website using the new ISO/IEC 29110 standard developed specifically for very small entities. Software Quality Professional Journal, 16(4), 4-25.
Siddoo, V., and Wongsai, N. 2017. Factors Influencing the Adoption of ISO/IEC 29110 in Thai Government Projects. International Journal of Information Technologies and Systems Approach, 10(1), 22-44.
Jirapanthong, W. 2019. Experience in Applying of ISO 29110 to Agile Software Development. Journal of Information Science and Technology, 9(1), 63-70.
Garcia, L., Laporte, C. Y., and Arteaga, J. 2014. Implementation and certification of ISO/IEC 29110 in an IT startup in Peru. Software Quality Professional, 17(2), 16-29.
PMI. 2017. A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK Guide). 6th ed, Project Management Institute, Pennsylvania.
Ghosh, B.S., Forrest, D., Dinetta, T., Wolfe, B., and Lambert, D.C. 2012. Enhance PMBOK® by
comparing with P2 M, ICB, PRINCE2, APM and scrum project management standards. PM World Today, 14(1), 1-77.
Fleming, Q. W., and Koppelman, J. M. 2016. Earned value project management. 4th ed, Project Management Institute, Pennsylvania.
Anbari, F. T. 2003. Earned value project management method and extensions. Project Management Journal, 34(4), 12-23.
Vanhoucke, M. 2014. Integrated project management and control: First comes the theory, then the practice. Springer, New York.
West, M. 2004. Real Process Improvement using the CMMI. Auerbach Publications, Taylor and Francis Group, LLC, Florida.
Galvan, S., Mora, M., O’Connor, R.V., Acosta, F., and Alvarez, F. 2015. A compliance analysis of agile methodologies with the ISO/IEC 29110 project management process. Procedia Computer Science, 64, 188-195.
Tremblay, N., Menaceur, J., Poliquin, D., and Laporte, C.Y. 2019. Implementing systems engineering and project management processes in a Canadian company - Overview and results achieved. Journal of Software Engineering and Applications, 13(2), 89-98.