จริยธรรมการตีพิมพ์

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author Ethics)
1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานฉบับใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อนหรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาการขอรับการตีพิมพ์ของวารสารหรือประชุมวิชาการอื่นๆ
2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่บิดเบือน/เปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือรายงานข้อมูลที่เป็นเท็จและต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำผลงานวิจัย
3. ผู้นิพนธ์ต้องมีการอ้างอิงผลงานโดยนำมาจัดทำรายการอ้างอิงตามรูปแบบของบทความเมื่อนำมาใช้ในงานของตนเอง
4. ผู้นิพนธ์ต้องใส่ชื่อผู้ร่วมวิจัยที่ได้ร่วมกันจัดทำทั้งหมดหรือมีการตกลงยินยอมในการใส่ชื่อร่วมวิจัย ในกรณีที่งานวิจัยมีผู้ร่วมทำงานหลายคน
5. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การทำวิจัยครั้งนี้ และระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี โปรดระบุ)

จริยธรรมของบรรณาธิการวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Editorial Ethics)
1. พิจารณาคุณภาพของบทความที่จะลงตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่ตนดูแล และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. ต้องไม่เปิดเผย/ปกปิดทั้งข้อมูลผู้นิพนธ์ และทั้งของผู้เขียนบทความ ไม่เผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่น ต้องพิจารณาแบบเป็นความลับ (double-blind) เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการพิจารณาบทความแก่ตัวผู้นิพนธ์ ผู้ร่วมนิพนธ์และวารสารเอง
3. ต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์ ขัดผลประโยชน์ หรือตอบรับบทความโดยที่ไม่มีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจน ในกระบวนการพิจารณาบทความ หากมีการกระทำเช่นนี้ควรมีการปรับเปลี่ยนบรรณาธิการใหม่ของวารสารทันทีและให้ถอนตัวออกจากการเป็นบรรณาธิการไม่ว่าจะเป็นด้านใด
4. ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความไม่ว่าจะเป็นกรณีใดทั้งสิ้น
5. ต้องมีการคัดกรอง/ตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism)ก่อนที่มีการส่งเข้าประเมินพิจารณาบทความของวารสาร ถ้าพบว่ามีเปอร์เซ็นความคล้ายเกินตามที่วารสารกำหนด ต้องนำส่งผู้นิพนธ์เพื่อทำการแก้ไข ปรับปรุงก่อนแล้วค่อยส่งกลับเข้ามาใหม่อีกครั้ง แต่หากมีการส่งเข้าประเมินแล้วต้องหยุดการประเมินทันที
6. เมื่อบทความได้ผ่านการพิจารณาและตรวจสอบแก้ไขเรียบร้อยแล้วบรรณาธิการควรมีหลักในการพิจารณาในการลงบทความเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ทั้งนี้ต้องประกอบด้วยหลักองค์ความรู้ของปัจจัยบทความนั้น หรือการอ้างอิงของบทความที่ถูกต้องตามทฤษฎี และสอดคล้อง สนับสนุนหรือการคัดลอกจากผลงานท่านอื่น

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Reviewers Ethics)
1. ผู้ประเมินบทความต้องเก็บเป็นความลับและไม่เผยแพร่ข้อมูลของบทความที่ส่งมาพิจารณาแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดทราบหรือที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างที่อยู่ในกระบวนการประเมินบทความ
2. เมื่อผู้ประเมินได้รับบทความจากวารสารนั้นๆแล้ว และได้ทำการพิจารณาเบื้องต้นแล้ว พบว่าไม่สามารถแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่างๆ โดยอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ผู้ร่วมนิพนธ์หรือกับวารสารนั้นๆ หรือไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดๆก็ตาม ผู้ประเมินบทความควรแจ้งให้บรรณาธิการพิจารณาและปฏิเสธการเป็นผู้ประเมินของบทความนั้น
3. ต้องมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตนถนัด ในการประเมินบทความโดย การวิเคราะห์ พิจารณา ทวนสอบของเนื้อหาบทความที่เป็นไปตามองค์ประกอบความรู้ที่เชี่ยวชาญตามหลักการถูกต้อง ทั้งความเข้มข้น และส่วนสำคัญของเนื้อหา และไม่ใช้ความคิดเห็นบุคคล ที่ไม่มีข้อมูลอ้างอิงทางวิชาการมารองรับหรือตัดสินบทความวิจัยนั้นๆ
4. หากในระหว่างการประเมินพบว่าบทความมีเนื้อหา เหมือนหรือคล้ายหรือมีการคัดลอกบทความหรือผลงานอื่นโดยที่ไม่มีการอ้างอิง ซึ่งถือว่าการแอบอ้างเป็นผลงานมาเป็นของตนเอง ให้ผู้ประเมินหยุดทำการประเมิน และแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที