Empirical ปัจจัยเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการบริหารเงินออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร ปัจจัยเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการบริหารเงินออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออม, ปัจจัยที่มีผลต่อการออม และการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมออม เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนจังหวัดชุมพร จำแนกตามพฤติกรรมการออม 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนจังหวัดชุมพรที่มีอายุ 30 – 59 ปี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ One-way ANOVA และ Multiple Regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ลักษณะการออมแบบออมหลังการใช้จ่าย มีการออม 4-6 ครั้งต่อปี และมีการออมเงินเฉลี่ย 3,001-4,000 บาทต่อครั้ง ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการออมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญทางด้านรายได้เป็นอันดับแรก การตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุของประชาชนในจังหวัดชุมพร พบว่ารูปแบบการออม 3 อันดับแรก คือ เงินฝากประจำ, สลากธนาคาร และเงินฝากออมทรัพย์ ตามลำดับ
ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า พฤติกรรมการออมต่างกัน จะมีระดับความคิดเห็นในการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุต่างกัน และปัจจัยที่มีผลต่อการออม ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกรูปแบบการออมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนวัยสูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
วารสารบริหารธุรกิจมีทั้งเเบบวารสารออนไลน์เเละวารสารเล่มฉบับ
** บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะผู้เขียนบทความแต่ละท่าน กองบรรณาธิการวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเสรีด้านความคิดและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของ
กองบรรณาธิการ **
** บทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความแต่ต้องอ้างอิงแสดงที่มาของวารสารที่นำไปคัดลอกให้ชัดเจน**
References
[2] อาทิตย์ เคนมี และวีรพงษ์ สุนทรฉัตราวัฒน์. (2560). สังคมสูงอายุ & วิกฤติสโลว์ไลฟ์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://waymagazine.org/aging_society/
[3] ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง). (2557). การออม. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563, จาก https://www.1213.or.th/th/moneymgt/save/Pages/save.aspx
[4] ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน. (2561). สำรวจพฤติกรรมการออมประชาชนฐานราก. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.gsbresearch.or.th/gsb/economics/819/
[5] สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2554). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดการเงินและตลาดทุน. กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
[6] นวพร เรืองสกุล. (2546). ออมก่อนรวยกว่า. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
[7] Albeart Anda, Franco Modigliani and Richard Brumberg. (1963). The life cycle hypothesis of saving : aggregate implications and tests. The American Economic Review, 53 (1), 53–84
[8] รัตนา สายคณิต และชลลดา จามรกุล. (2560). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[9] มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย(มส.ผส.). (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. นครปฐม : พริ้นเทอรี่
[10] อรพนิตา จรัสธนาวรพัฒน์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมในการทำงานกับผลการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามโดยมีการมี
ส่วนร่วมของบุคลากรสายวิชาการเป็นตัวแปรส่งผ่าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
[11] วันดี หิรัญสถาพร และคณะ. (2558). พฤติกรรมการออมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคล รัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
[12] ปรารถนา หลีกภัย. (2563). พฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13 (1), 111-126.
[13] เนษพร นาคสีเหลือง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. (รายงานค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
[14] ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูล. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[15] วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และธนภรณ์ เนื่องพลี. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วารสารฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 11 (1), 3061-3074
[16] สุพัตรา สมวงศ์ และบังอร สวัสดิ์สุข. (2559). ศึกษาการออมเพื่อวัยเกษียณอายุของลูกค้าธนาคาร ทหารไทยจำกัด (มหาชน) จังหวัดพะเยา. วารสารประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่1 “สร้างเสริมสหวิทยาการ ผสมผสานวัฒนธรรมไทย ก้าวอย่างมั่นใจสู่ AC. อุบลราชธานี”, 1 (1), 767-779.
[17] Maria Piotrowska. (2019). The Importance of Personality Characteristics and Behavioral Constraints for Retirement Saving. Journal of Economic Analysis a Policy, 50 (64), 194 -220.
[18] อนงนาฎ ศุภกิจวณิชกุล. (2558). พฤติกรรมการออมและการบริหารการเงินก่อนเกษียณอายุ กรณีศึกษาบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปกร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม :มหาวิทยาลัยศิลปกร
[19] มรกต ฉายทองคำ. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออมเงินของกลุ่มคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. (รายงานค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
[20] นเรศ หนองใหญ่. (2560). พฤติกรรมการออมของประชาชนในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี, มหาวิทยาลัยบูรพา.