เจตคติที่มีต่อการฝึกอบรมมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

Main Article Content

สรัญญา พันธุ์แก้ว เเละวรนารถ แสงมณี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อการฝึกอบรมมาตรฐานISO / IEC 17025  :2005ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ทำการเก็บข้อมูลคือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับรองมาตรฐานมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005 ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 495 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความคลาดเคลื่อนของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับ 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจานวน 248 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติทดสอบ t-test และOne-way ANOVAในการทดสอบสมมติฐาน                                                                    


          ผลการศึกษาพบว่าระดับเจตคติที่มีต่อการฝึกอบรมมาตรฐานISO / IEC 17025 :2005ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติ งานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่มี เพศ อายุ สถานภาพการสมรส และอายุงาน แตกต่างกัน มีเจตคติที่มีต่อการฝึกอบรมมาตรฐานISO / IEC 17025 :2005ไม่แตกต่างกัน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่มีระดับการศึกษาและการเข้ารับการฝึกอบรมมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 แตกต่างกัน มีเจตคติที่มีต่อการฝึกอบรมมาตรฐานISO / IEC 17025 :2005แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

Article Details

How to Cite
สรัญญา พันธุ์แก้ว เเละวรนารถ แสงมณี. (2019). เจตคติที่มีต่อการฝึกอบรมมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 ของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ. วารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 9(2), 237–253. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fam/article/view/241544
บท
Articles

References

ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2544). คูมือการประเมินและติดตามผลการฝกอบรม สำหรับผูรับผิดชอบ โครงการฝึกอบรม/สัมมนา.กรุงเทพฯ : สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.
เตือนใจ ทองดี. (2549). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติตอการเรียนวิชาวิทยาศาสตรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 ที่ไดรับการจัดกิจกรรมการเรียนรูแบบออนไลน (e-Learning) กับการเรียนรูแบบปกติ. วิทยานิพนธครุศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร.
นภาวรรณ จ้อยชารัตน์. (2558).การจัดอบรมและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อการถ่ายโอนการอบรม สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บริษัท สุมิพลคอร์ปอเรชั่น จํากัด. (2560). การสอบเทียบเครื่องมือวัดมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2560 จาก https://www.sumipol.com/knowledge/standard-calibration.
พนม วิจิตรจั่น. (2545). เจตคติของพนักงานที่มีต่อการนำการฝึกอบรมมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร : กรณีศึกษา บริษัท อินเทล ลิฟวิ่ง จำกัด.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่7) กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม. (2561). ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2005 สืบค้นเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/ISO_17025-2.pdf.
สุจินต์ เสาสิน. (2559). เรื่องเจตคติที่มีต่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานบริษัท กลุธรอิเล็คทริค จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). GDP ไตรมาสที่สี่ทั้งปี 2560และแนวโน้มปี 2561 สืบค้นเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5165.
อำนวย เดชชัยศรี. (2542). สื่อการศึกษาพื้นฐาน กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
Likert, R.A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes, Arch Psychological.
Yamane, Taro.1973. Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.