คุณภาพการบริการและส่วนประสมการตลาด บริการในการใช้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตภาคกลาง

Main Article Content

สมาพร คงโฉลง
กตัญญู หิรัญญสมบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสำคัญของคุณภาพการบริการและส่วนประสม การตลาดบริการที่มีผลต่อการใช้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลรัฐบาลจำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เคยใช้บริการฟอก เลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตภาคกลาง 400 ราย ด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test One-Way ANOVA และ LSD ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างให้ระดับความสำคัญของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการใช้บริการฟอกเลือดมี ค่าเฉลี่ยเรียงลำดับมากไปหาน้อยคือ ด้านการตอบสนองต่อความต้องการ ความเอาใจใส่ ความเชื่อถือได้ การให้ความ เชื่อมั่น และลักษณะที่สัมผัสได้ และระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการ ฟอกเลือดมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ ด้านบุคลากร ผลิตภัณฑ์บริการ กระบวนการทำงาน การสร้าง และนำเสนอลัษณะทางกายภาพ ราคา สถานที่ และการจัดการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าผู้รับบริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อคุณภาพบริการ และส่วนประสมการตลาดบริการในการใช้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในโรงพยาบาลรัฐบาลเขตภาคกลาง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชย์ปัญญา. (2549). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กาญจนา พิบูลย์. (2559). ความต้องการในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2): 44-51.

ประเสริฐ ธนกิจจารุและสุพัฒน์ วาณิชย์การ. (2551). ตำราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตและการพยาบาล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย.

มณีรัตน์ จิรัปปภา. (2557). การชลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยสูงอายุ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา,20(2): 5-16.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2017). Annual Report Thailand Renal Replacement Therapy 2015th. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2561. เข้าถึงได้จาก http://thailand-renal-replacement-therapy-2007-2015-th.

อมรรัตน์ ศรีวาณัติ. (2560). ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการของผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในศูนย์ไตเทียมเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1): 187-196.

Coleman S. Havas K. Ersham S. Et all. (2017). Patient satisfaction with nurse-led chronickidney disease clinics : A multicentre evaluation. Journal of Renal Care. 43(1) : 11-20.

Gu X. and Itoh K. 2015. Factors behind dialysis patient satisfaction : exploring their effects on overall satisfaction. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561, จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2536387

Parasuraman A., Zeithaml V.A. And Berry L.L. (1988). SERVQUAL : A multiple Item Scale for measuring consumer perceptions of service quality. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2561,จาก https://www.researchgate.net/publication/225083802_SERVQUAL_A_multiple-_Item_
Scale_for_measuring_consumer_perceptions_of_service_quality.

Philip Kotler. And Kevin Lane Keller. (2016). Marketing Management. 16th ed. New York: Pearson.

Suetonia C Palmer. Giorgia de Berardis. And Jonathan C Craig. Et all. (2014). Patient satisfaction with in-centre haemodialysis care : an international survey. BMJ Open. 4(5) : 14