รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างของตัวแปรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุประเทศไทย 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างของตัวแปรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อค้นหาแบบจำลองปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุประเทศไทยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหาร หัวหน้าและพนักงานธุรกิจผู้สูงอายุในประเทศไทย จำนวน 440 คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร การวิเคราะห์โมเดลการวัด ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ค่าอิทธิพลของตัวแปร
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุประเทศไทยสูงสุด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน เท่ากับ 0.576 รองลงมาคือปัจจัยด้านการบริหารจัดการมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน เท่ากับ 0.287 และปัจจัยด้านคุณภาพการบริการมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน เท่ากับ 0.109 ตามลำดับ และการวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างของตัวแปรที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุประเทศไทย พบว่า โมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Model Fit) มีค่าทดสอบดังนี้ Chi-square (X2) = 174.466, df = 155, p = .136, CMIN/DF (X2/df ) =1.126, GFI=.974, CFI=.998, AGFI=.958, NFI=.980 and RMSEA= .014 สรุปได้ว่ารูปแบบจำลองของปัจจัยมีผลต่อความสำเร็จในการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุในประเทศไทย มีความสอดคล้องกลมกลืนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งการผันแปรของความสำเร็จในการจัดการธุรกิจผู้สูงอายุสามารถอธิบายได้ ร้อยละ 85.90 (R2= 0.859)
Article Details
วารสารบริหารธุรกิจมีทั้งเเบบวารสารออนไลน์เเละวารสารเล่มฉบับ
** บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นเฉพาะผู้เขียนบทความแต่ละท่าน กองบรรณาธิการวารสารบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเสรีด้านความคิดและไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของ
กองบรรณาธิการ **
** บทความที่ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นลิขสิทธิ์ของคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความแต่ต้องอ้างอิงแสดงที่มาของวารสารที่นำไปคัดลอกให้ชัดเจน**
References
จิตตินันท์ นันทไพบูลย์. (2551). จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปราโมทย์ ปราสาทกุล. (2556). สถานการณ์ผู้สูงอายุ แนวโน้ม และผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน, 2556. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2561, จาก http:anamai.moph.go.th/.../ผู้สูงอายุ/
พิกูล ทักษิณวราจาร. (2555). ไขกุญแจสู่ความสำเร็จ “ธุรกิจบริการผู้สูงอายุ”.สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ ViewNews.aspx?NewsID=9540000115736
นันท์นภัส ทรัพย์โชคธนกุล. (2557). รูปแบบกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจผู้สูงอายุ.หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการประกอบการ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2559. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.dop.go.th/download/knowled~e/th 1512367202-108-O.pdf
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562).สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2561.สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2563, จากhttps://thaitgri.org/
รติมา คชนันท์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร: ISBN 2287-0520
วัฒนา ทนงค์แผง และ ชวลีย์ ณ ถลาง. (2660). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดตราด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 1-17.
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2556). ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น (ปี 2560). สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2561, จาก http://ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติรายประเด็น%20(ปี%202560).pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2556) .การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – พ. ศ. 2583. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2561, จาก http://social.nesdb.go.th/social/Portals/%...%20e-book.pdf
อนันต์ อนันตกูล. (2560). สังคมสูงวัยความท้าทายประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.royin.go.th/wp- content/uploads/2017/12/%...%A23.pdf
อมรรักษ์ สวนชูผล. (2561). การจัดการธุรกิจการบริการผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 146-152.
Aremu, M. A., & Bamiduro, J. A. (2012).Marketing Mix Practice as a Determinant of Entrepreneurial Business Performance. International Journal of Business and Management, 7(1), 205-213.
Bureau.2012. 2012 Word Population data sheet. Retrieved from http://www.prb.org/pdf12/2012-population-data-sheet_eng.pdf.
Chiang, W. J., Shyu, M. L. (2016). Key Success Factors in the Business Model of B&B Industry in Taiwan. Revista de Cercetare si Interventie Sociala, 53, 89-96.
Daft, R. L. (2010). Organization theory and design. (12th ed.). Andover: South-Western Cengage Learning.
Frese, M. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa: A Psychological Approach. United States of America : Greenwood Publishing Group.
Gyani-Karani, K., & Fraccastoro, K. (2010). Resistance to Brand Switching: The Elderly Consumer. Journal of Business and Economics Research, 8(12), 77-84.
Kaplan, & Norton. (2007). Using the Balanced Scorecard as a Strategic Management System. Harvard business review, 85(7), 1-14.
Kotler, P., Burton, S., Deans, K., Brown, L., & Armstrong, G. (2015). Marketing: Pearson Higher
Education AU.
Likert, R. (1970). The Human Resources: Cases and Concepts. Harcourt Brace, New York.
Lovelock, C. H. (1996). Service Marketing. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice-Hall Entrepreneurship, Nova Southeastern University.
Namukasa, J. (2013). The influence of airline service quality on passenger satisfaction and loyalty: the case of Uganda airline industry. TQM J, 25(5), 520–532.
Peter, T. J., & Robert H. W. Jr. (1982). In Search of Excellence: Lessons from America’s Best-Run Companies. New York: Harper & Row Publishers.
Shabbir, A., Malik, S.A., & Malik, S.A. (2016). Measuring patients' healthcare service Quality perceptions, satisfaction, and loyalty in public and private sector hospitals in Pakistan, International Journal of Quality & Reliability Management, 33(5), 538–557.
Walsh, M., Lynch, P., & Harrington, D. (2010). Creting superior competitive advantages for the small tourism firm through capitalizing on the firm-level dynamic capability of innovativeness. The Tourism and Hospitality Research in Ireland Conference (THRIC),15th- 17th June2010, Shannon College of Hotel Management.
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A., & Berry, L. L. (1990). Delivering Quality Service: Balancing Customer Perceptions and Expectation. New York: The Free Press.