การศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม

Main Article Content

มาริสา สุทธิธรรม
ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์
นวพร วรรณทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่1 การสังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า


1) องค์ประกอบสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การสนับสนุนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในองค์กร (2) ความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ (3) การใช้เทคโนโลยีในการสนันสนุนการจัดการเรียนรู้ (4) การมีจริยธรรม กฎหมาย จรรยาบรรณและความปลอดภัย และ (5) การวัดและประเมินผลการใช้เทคโนโลยี


2) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 องค์ประกอบ และอยู่ในระดับมาก 2 องค์ประกอบ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ (1) การมีจริยธรรม กฎหมาย จรรยาบรรณ และความปลอดภัย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 (2) การใช้เทคโนโลยีในการสนันสนุนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.77 (3) การวัดและประเมินผลการใช้เทคโนโลยี ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 (4) ความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 (5) การสนับสนุนส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในองค์กร ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กนกวรรณ โพธิ์ทอง, วินัย ดำสุวรรณ, มณฑป ไชยชิต และสุดารัตน์ สารสว่าง. (2559). ผลของภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนและบรรยากาศโรงเรียนโดยมีการรู้เทคโนโลยีและการบูรณาการเทคโนโลยีในการสอนของครูเป็นสื่อกลางต่อประสิทธิผลครูในโรงเรียนดี ศรีตำบล ระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 10(3), 255-269. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/65125

คมคาย น้อยสิทธิ์. (2561). ผู้บริหารยุคการศึกษา 4.0. วารสารครุศาสตร จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 46(4). 40-57. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/163436

จารุภา สังขารมย์. (2560). การพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้ปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ฉันทนา ปาปัดถา และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2556). ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงเพื่อการศึกษาแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8 (1), 51-66. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/54856

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

รัตนาภรณ์ วัชรอัตยาพล และสถาพร ขันโต. (2563). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์. 5(1). 1-13. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/BSJ/article/view/242019

วราพินทร์ ชาววิวัฒน์. (2565). แนวทางการส่งเสริมทักษะดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิทิตา จันทรวารีเลขา. (2563). แนวทางในการสนับสนุนการพัฒนาทักษะบุคลากรในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Savvy) ตามแผนงาน Digital Competency: กรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.). [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=8556&context=chulaetd

พรทิพย์ ไชยพนาพันธ์. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พรภวิษย์ อุ่นวิเศษ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สตรีรัตน์ ตั้งมีลาภ. (2558). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาของด้านการบริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561. พริก หวานกราฟฟิค.

สุนันทา สมใจ. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(1). 350-363. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/journaldtc/article/view/118328

อัสนี โปราณานนท์. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา]. https://updc.up.ac.th/server/api/core/bitstreams/2015250a-f1fd-4222-93f4-3b10c84deb2f/content

อาทิตยา สินพร และนวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์. (2566). สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูกลุ่มเครือข่ายนาจะหลวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8(2). 1601-1610. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/268283

International Society for Technology in Education (ISTE). (2009, 15 January). National Educational Technology Standards for Administrators. http://www.iste.org/docs/pdfs/20-14_ISTE_StandardsA_PDF.pdf

Shamburg, C., & Zieger, L. (2006). Technology facilitator accreditation guide Teachers as technology leaders. International Society for Technology in Education.