การจัดการเรียนรู้แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติที่มีต่อทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข ปีการศึกษา 2567 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง ประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการฟังภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติ สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ (%) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที กรณีกลุ่มตัวอย่างเดียว (t-test for One Sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับเทคนิคการแสดงบทบาทสมมติ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ (=2.89, S.D. = 0.31)
Downloads
Article Details
References
กรกช ฉวีวรรณชล. (2565). การพัฒนาทักษะและการฟังและการพูดภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร CLT ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกวลิน หวังมุทิตากุล. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (CLT) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัชปภา โพธิ์พุ่ม, พระปรัชญา ชยวุฑฺโฒ (ถิ่นแถว) และประดิษฐ์ ชื่นบาน. (2562). การพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กระบวนการทฤษฎี CLT. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(4), 109-122. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/227615
ณิชา โสภณ. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสื่อสารและเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). ุสุวีริยาสาส์น.
รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำปีการศึกษา 2564. (2565) โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข.
สถาบันภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). คู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามมาตรฐานความสามรถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เสาวคนธ์ จันต๊ะมาต. (2565). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีนของนักศึกษาโปรแกรมวิชาการสอนภาษาจีน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อมิตา แก้วตา. (2566). การส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขาณุวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Chapelle, C. A., & Sauro, S. (2017). The handbook of technology and second language teaching and learning. John Wiley & Sons.
Dornyei, Z. (2020). Innovations and challenges in language learning motivation. Routledge.
Education First. (2022). EF English Proficiency Index. https://www.ef.com/wwen/epi/
Harmer, J. (2007). The practice of English language teaching (4th ed.). Pearson Longman.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (2019). Cooperative learning: The foundation for active learning. IntechOpen.
Krashen, S. D. (1982). Principles and practice in second language acquisition. Pergamon Press. Ladousse, G. P. (1987). Role play. Oxford University Press.
Richards, J. C. (2006). Communicative language teaching today. Cambridge University Press.
Richards, J. C. (2018). Communicative language teaching today (2nd ed.). Cambridge University Press.
Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2014). Approaches and methods in language teaching (3rd ed.). Cambridge University Press.
Rodgers, T. S. (2014). Approaches and methods in language teaching. Cambridge University Press.