การพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน ในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กระบวนการทฤษฎี CLT

Main Article Content

ณัชปภา โพธิ์พุ่ม
พระปรัชญา ชยวุฑฺโฒ (ถิ่นแถว)
ประดิษฐ์ ชื่นบาน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT ก่อนและหลังการพัฒนา และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT


          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 20 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purport Sampling) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT และแบบทดสอบวัดทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนวิจัย One–Group Pretest–Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพของกิจกรรมตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 และ t–test  ชนิด Dependent Samples


          ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพความต้องการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมควรจัดให้สัมพันธ์กับความต้องการในชีวิตจริงของผู้เรียน มีการคำถามและคำตอบ กิจกรรมให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ของตนเอง บทสนทนาตามสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน หรืออาจจะมีเกมให้เล่น มีการโต้วาที อภิปราย แสดงความคิดเห็น  ด้านเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อการสื่อสารภาษาอังกฤษ ควรมีเนื้อหาที่เน้นความสำคัญอยู่ที่ความคิดรวบยอดของความหมายและไวยากรณ์ รวมถึงหน้าที่ในการสื่อความหมาย หัวข้อทั่วไป หัวข้อเฉพาะ และฉากหรือสถานการณ์ของการใช้ภาษาและวิธีสอนตามแนวการสอนเพื่อการพัฒนาทักษะการสื่อสาร เน้นการใช้ภาษาของผู้เรียนมากกว่าเน้นถึงหลักเกณฑ์การใช้ภาษา ให้ความสำคัญกับความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาและความถูกต้อง  การทำกิจกรรมเพื่อการฝึกฝนใกล้เคียงสถานการณ์จริงมากที่สุด  

  2. ชุดฝึกทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 79.96 /78.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

  3. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT หลังพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  4. ความพึงพอใจต่อการฝึกทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนในจังหวัดสุรินทร์โดยใช้กระบวนการของทฤษฎี CLT โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
โพธิ์พุ่ม ณ., (ถิ่นแถว) พ. ช., & ชื่นบาน ป. . (2019). การพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน ในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้กระบวนการทฤษฎี CLT. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 109–122. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jg-mcukk/article/view/227615
บท
บทความวิจัย

References

Academic offices of the Ministry of education. (2005). Assessment of reading, critical thinking and writing the basic
education curriculum B.E 2544. Bangkok: a teaching promoting group and evaluation. The academic office and
educational standards, the Office of the basic education and the Ministry of education.
Arunee Wirayachitra and group. (2012). looking forward and Looking back to English teaching .Bangkok: S. Asia
Press.
Athit Intakaew. (2017). Education and development of a format for English learning of the students Higher education
:The integrated method . Ph.d. thesis research in Department of Research and Development human potential
Faculty of Education Srinakharinwirot University.
Larsen–Freeman, D. (2000). Techniques and principles in language teaching. Oxford: Oxford University Press.
Littlewood, W. (1988). Communicative language teaching. New York: Cambridge University Press.
Manager Daily newspaper. (2014). exam results of English –Thai is ranked bad group .January 28, 2014
Pawapatcharaudom, R. (2007). “An investigation of Thai students’ English language problems and their learning
strategies in the international program at Mahidol University.” Master’s thesis. Mahidol University.
Richarods, j. & Rodgers, T. (2002). Approaches and Methods in Language Teaching. (2nd ed). Cambridge University
Press, USA.
Suwiwatchara Matapho. (2011). Developing listening skills and practice English pronunciation by using karaoke music.
Secondary 1.independent research. M.Ed. Mahasarakham : Mahasarakham University.
Toopthong Kangsawas. (2006). English teaching. Mahasarakrm University: Department of Curriculum and Instruction.
Faculty of Education Mahasarakrm university.
Tuangthip Sorasasaowapak. (2014). The development of simulation activities for strengthen the ability of spoken
English for communication by using the context Phetchaburi For diploma students. Phetchaburi: Phetchaburi
vocational college .
Tuchakorn Sukhawande. (2016). The development of English speaking ability of students of grade 6 using learning
activities paired cooperate to record audio from the computer. Master’s thesis ,In Curriculum and Instruction
: Mahasarakrm University.
Vijan Panich. (2012). The learning building to students in the 21st Century. Bangkok: Tathata Publication Co.,Ltd.