การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้หนังสือเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

อริญชยา บุญประสาน
บุญรัตน์ แผลงศร
วัตสาตรี ดิถียนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อน และหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้หนังสือเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2) ศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้หนังสือเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง จำนวน 40 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยการใช้หนังสือเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 2) หนังสือเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับ การเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 4) แบบประเมิน ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ dependent sample t-test


ผลการวิจัยพบว่า


1) ผลการเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนด้วยการใช้หนังสือเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01


2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้หนังสือเทคโนโลยีความจริงเสริมร่วมกับการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน อยู่ในระดับมาก (equation= 4.42, S.D. = 0.77)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563, 12 ตุลาคม). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (2542). https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542/

กัญญารัตน์ ทองชุม. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันคันจิด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality โดยกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงภาพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น]. http://library.tni.ac.th/thesis/upload/files/Thesis%20MIT%202018/Kanyarat%20Thongchum%20Thesis%20MIT%202018.pdf

กานต์ณรงค์ สอนสกุล และสรณบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานและการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษธุรกิจอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2610

ญาณิศา สู่ทรงดี, จงกิจ วงษ์พินิจ, ทองพูล ขุมคํา, วิโรจน์ ทองปลิว, และศิรประภา รัตนรวมการ. (2566). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 25(1),273-291. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/269417

ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 30(3), 16-29. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/244286

ปารวี งามอนันต์. (2564). การพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2021_06_07_14_48_50.pdf

พัชรี ปุ่มสันเทียะ, พัชราวลัย มีทรัพย์, ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล, และสิริณดา เจริญชอบ. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในรายวิชาภาษาจีน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 48(2), 184-202. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/243205

พิชชุดา น่วมนองบุญ. (2561). การพัฒนาหนังสือคำศัพท์กริยา 3 ช่อง ด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง Augmented Reality : AR) เรื่อง The Magic AR Book “Irregular Verbs” ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 8. (1273- 1286). https://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/Masters/ฝสส/research/8nd/FullPaper/SS/Poster/P-SS%20013%20นางสาวพิชชุดา%20น่วมนองบุญ.pdf

ภาณุวัฒน์ เรืองกุลทรัพย์, ศรัณยู บุตรโคตร และอิทธิชัย อินลุเพท. (2565). การพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นระดับพื้นฐานด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2), 298-312. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/258580

มาธวี กันทะสอน. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบเน้นภาระงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. [ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์]. http://202.29.52.112/dspace/bitstream/123456789/102/1/62551101105.pdf

ฤดี กมลสวัสดิ์. (2563, 15 สิงหาคม). จับใจความหัวใจสำคัญของการอ่าน. https://bsru.net/จับใจความหัวใจสำคัญของ/

วลัยพรรณ จ้อยชารัตน์. (2563). ผลการใช้หนังสือความจริงเสริม วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องลักษณะทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/3427

วัตสาตรี ดิถียนต์. (2565). Wireless Learning การเรียนการสอนไร้สาย: What, When, Where, Why & How. [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แวววรรณ มนูธรรม. (2564). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้วิธีการสอนอ่านของเมอร์ด็อก (MIA) ร่วมกับเทคนิคหมวก 6 ใบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3843/1/60263327.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566, 6 ธันวาคม). การแถลงข่าวผลการประเมิน PISA 2022. https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/

สมาคมไทสร้างสรรค์. (2567, 17 เมษายน). การอ่าน - ประเทศไทยขาดอะไร ?. https://taiwisdom.org/

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2530). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Connext Team. (2564, 12 พฤษภาคม). งานวิจัยล่าสุดพบว่าการอ่านหนังสือจากเล่มกระดาษ มีประสิทธิภาพ ในการจดจำมากกว่า E-book. https://techsauce.co/connext/life-hacks/the-research-finds-that-reading-a-printed-book-is-more-effective-than-e-book

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. McGraw-Hill.