ผลของการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง การป้องกันโรคติดต่อ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์1)เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ จำนวน 40 คนและกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการจัด การเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัด การเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองเรียนรู้แบบอริยสัจสี่และกลุ่มควบคุมเรียนรู้แบบปกติด้วยตนเองมีการวัดความสามารถในการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1)กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2)นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่มีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
References
กมลชนก มลคงแก้วเลิศ และสิทธิพล อาจอินทร์. (2558). การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้คู่เยาวชนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจสี่ ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3), 1-8. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDGKKUJ/article/view/51545
จิตศริณย์พร ปัญจวัฒนคุณ. (2561). อริสัจ 4 กับวัยรุ่นในศตวรรษที่ 21. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23(1), 1-15.
ชนาพร แสนสมบัติ. (2559). การสอนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการดำรงชีพในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 5(2), 1-4. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/253073
ณัฐพล มิตรอารีย์, พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ และสิน งามประโคน. (2566). การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบอริยสัจ 4. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 4(1), 27-37. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOB_EHS/article/view/266122
พระมหาประเสริฐ ชาตเมธี, ชวาล ศิริวัฒน์, สมชัย ศรีนอก และสมปอง สุวรรณภูมา. (2561). การใช้วิธีสอนแบบอริยสัจสี่ในสาระพระพุทธศาสนา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านหลักร้อย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(1), 53-65. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/147690
พระมหาอนุพันธ์ พรมชาลี และวิทยา ทองดี. (2565). หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 7(3), 316-322.
พระรุ่งโรจน์ ถิรปุญฺโญ, สมชัย ศรีนอก, นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ และอภิวัฒน์ พิมพวง. (2565). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอริยสัจ 4 ที่มีต่อความสามารถ ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 123-140. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/human/article/view/255266
รัชนี นกเทศ และภัทรวลี นิ่มนวล. (2566). แนวทางการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับอริยสัจ 4 สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 6(4), 365-373. https://so06.tcithaijo.org/index.php/tmd/article/view/264771/180098
วิชญะ น้อยมาลา. (2564). ทักษะจําเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 45-57. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/rtnb/article/view/595
ศศิธร เชาวรัตน์. (2554). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้นำชุมชนเมือง: กรณีศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 117-126. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rmuj/article/view/23326
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563, 102-103. https://spmpt.go.th/annual_report/
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561–2580. https://www.bic.moe.go.th/images/stories/pdf/NS_SumPlanOct2018.pdf
Watson, G., & Glaser, E.M,. (1964). Watson-Glaser Critical Thinking Appraisal Manual. Harcourt Brace and World.