การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ที่ส่งเสริมทักษะการทำงานกลุ่มและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

สุภาพร พรประไพ
ฐาปนี สีเฉลียว

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและของทักษะการทำงานกลุ่ม  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โรงเรียนบ้านภูเหล็ก ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล 


ผลการวิจัยพบว่า


1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1) ขั้นการสอน 2) ขั้นการศึกษาของทีม 3) ขั้นการทดสอบ 4) ขั้นการรับรางวัลของทีม ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในระดับดีมาก (µ= 4.86, equation=0.022) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.80/85.80 เป็นไปตามที่กำหนด


2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  มีค่าเท่ากับ 0.6491  ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 64.91 มีค่าดัชนีประสิทธิผลของทักษะการทำงานกลุ่ม มีค่าเท่ากับ 0.7322  ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะการทำงานกลุ่มก้าวหน้า คิดเป็น ร้อยละ 73.22


3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด  (µ = 4.78 ,equation = 0.45)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กมลวรรณ สีใส และคณะ. (2565). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูและครูสถาบันการอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1). 57-71. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/256075

กุลธิดา ทุ่งคาใน. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning ในวิถี New Normal Blended Learning in a New Normal. ครุศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 15(1), 29-43.

จันทร์ ติยะวงศ์. (2564). ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องการบวก ลบ คุณ หาร พหุนาม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(1). 34-45. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/NBU/article/view/247588

จันทิมา ชุวานนท์. (2563). การใช้วิธีการเรียนแบบผสมผสานในรายวิชาวิธีการวิจัย สำหรับนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษธุรกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี] . https://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/1678

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์สุวีรยาสาส์น.

ปรัชญนันท์ นิลสุข และปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน: สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 25(85). 31-36.

ปิยะวรรณ สายสุทธิ และ ปถมาภรณ์ ไทยโพธิ์ศรี. (2565). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง รายวิชา วิทยาการคำนวณร่วมกับการใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นปีที่ 2 โรงเรียนสระกะเทียมวิทยาคม. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 . มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

ศิริรัตน์ หวังสะแล่ะฮ์. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 116-132. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/247399

ศิริวรรณ ศิริสุขประเสริฐ. (2562). การพัฒนาผลการเรียนรู้และทักษะการทำงานกลุ่ม เรื่อง การแบ่งเซลล์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,วิทยาลัยครูสุริยเทพ]. https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/106

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2562). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม วิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุนารี นวลจันทร์. (2562). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการทำงานกลุ่ม เรื่อง ระบบจำนวนจริง โดยการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเกมคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุนิสา ทรัพย์สูงเนิน, ดุสิต ขาวเหลือง และสิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 สาขาการบัญชี. วารสาร BUUIR คลังปัญญามหาวิทยาลัยบูรพา, 2(2). 44-59. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ejes/article/view/242109

อธิษฐ์ เชิญขวัญชัย และธนดล ภูสีฤทธิ์. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 3(9), 74-85. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/242540

Oh, K. & Lee, S.-H. (2021). Application of Home Economics Teaching-Learning Plan in the Clothing For Teenager’s mpowerment. Journal of Korean Home Economics Education Association. 33 (1), 169-184. http://doi.org/10.19031/jkheea.2021.3.33.1.169

Parker, G. M. (1990). Team Players and Team Work : The New Competitive Business Strategy. Jossey-Bass.

Utami,I.S. (2018). The effect of blended learning model on senior high school students’ Achievement. In SHS Web of Conference , 42(2018), 6. https://doi.org/10.1051/shsconf/20184200027