การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) (3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) กับเกณฑ์ที่กำหนด (4) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการกลุ่ม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 5 ชนิด คือ 1) ประสิทธิภาพของการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ประกอบหนังสือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) 2) ค่าดัชนีประสิทธิผล 3) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) ศึกษาทักษะกระบวนการกลุ่ม และ 5) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test (Dependent Samples) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. ประสิทธิภาพของกระบวนการ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 79/80.69
2. ค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนฯ มีค่าเท่ากับ 6538 คิดเป็นร้อยละ 65.38
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะกระบวนการกลุ่ม มีค่า (= 33 , S.D. = 2.09 ) อยู่ในระดับมาก
4. ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD มีค่า (= 86 , S.D. = 0.14 ) อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
References
ชวนพิศ จะรา. (2556) การพัฒนาการเรียนด้วยเทคโนโลยีผสานความจริง (AR) ร่วมกับหนังสือนิทานสองภาษาโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
เพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน”, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-20
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2552). เทคโนโลยีการสอน: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ณัฐฐาน์ นิธิภัทร์มณีโชค (2559) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ระบบหมุนเวียนโลหิต ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง Computer
Assisted Instruction on Circulatory system with an Augmented Reality วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ 2 ( 2) มิถุนายน–กันยายน 101-112
ธีรเดช บุญนภา และคณะ. (2558). “การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมแต่งบนระบบ ปฏิบัติการ
แอนดรอยด์.” The 3 rd ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2)
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2540). “กระบวนการกลุ่ม.” ในทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม :ต้นแบบการเรียนรู้ทางด้านหลักทฤษฎีและแนว
ปฏิบัติ. หน้า40. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ปิ่นสุดา มังคะรัตน์ (2561) การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบจำลองสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยี AR
(Augmented Reality) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิทยานิพนธ์ (กศ.ม. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
วิจารณ์ พานิช. (2554 ). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : ตถาตาพลับลิเคชั่น จำกัด.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม. ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์:
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่: 2. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ 9119 เทนนิคพริ้นติ่ง.
อนุชาวดี ไชยทองศรี (2559) การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในการเรียน วิชาภาษาจาวา โดยใช้
เทคนิคการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) เน้นการฝึกปฏิบัติด้วยกระบวนการกลุ่ม งานวิจัยงบประมาณรายได้ปี 2560 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
อภิวัฒน์ โตชัยภูมิ (2559) การพัฒนาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา และพลศึกษา
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม