การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และครูสถาบันการอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ สีใส คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • ศศิรักษ์ คลังวิจิตร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • จักรพันธ์ รูปงาม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • วิสุทธิ์ แซ่แต้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • อรทัย เจริญสิทธิ์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้, สื่อการเรียนรู้คหกรรม, ครูอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้รายวิชาต้นแบบ และ 2)พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และครูสถาบันการอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สาขาคหกรรม จำนวน 20 คน นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาคหกรรมศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้รายวิชาต้นแบบ 2) แผนการจัดการเรียนรู้การสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ฯ  3) แบบประเมินการเรียนรู้แบบนำตนเอง 4) แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล 5) แบบประเมินผลงาน และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยดังนี้ 1) รายวิชาต้นแบบ 3 รายวิชา คือ การร้อยมาลัย อาหารไทยต้นตำหรับ และผลิตภัณฑ์ของขวัญและของที่ระลึก ทั้งสามรายวิชาอยู่มีผลการประเมินคุณภาพของแผนจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับดีมาก และมีประสิทธิภาพ (E1/E2) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80  2) แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ฯ มี 2 แผน ผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ระดับดีมาก (M=4.46, S.D.=0.44) และผลการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า คะแนนการประเมินตนเองต่อความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M=3.84, S.D.=0.53) ส่วนการประเมินผลภาพถ่าย พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (80.10%) และผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนความพึงพอใจต่อกิจกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.76, S.D.=0.95)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558) นโยบายด้านการอาชีวศึกษา. [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2562] จาก https://www.vec.go.th/Portals/0/Doc/vecit.pdf

กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานอาชีวศึกษา. (2564). จำนวนนักเรียนภาครัฐและเอกชนรายประเภทวิชาปีการศึกษา 2560-2564. เข้าถึงจาก. https://techno.vec.go.th/

ดุสิต ขาวเหลือง และ อภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์ 30 (3), 16 - 29.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2545) วิถีคหกรรมศาสตร์ในประเทศไทย : บทสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์ จากปัจจุบันสู่อนาคต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์. (2564). การพัฒนาชุดการสอนแบบ Active learning โดยใช้เทคนิค SQ3R เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 32 (1), 77- 88.

วไลภรณ์ สุทธา และ วิกร ตัณฑวุฑโฒ. (2558). การพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสาน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. 9(2), 114-128.

วิจารณ์ พานิช (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้.[สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2564] จาก https://www.gotoknow.org/posts/341272.

สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). กระทรวงศึกษาธิการแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2563] จาก https://www.vec.go.th/

Ayse Gul Kara Aydemir & Gulfidan Can,. (2019). Educational technology research trends in Turkey from a critical perspective: An analysis of postgraduate theses. British Journal of Educational Technology. 50 (3), 1087-1103.

Bochkareva, T. N. et al. (2020). The Analysis of Using Active Learning Technology in Institutions of Secondary Vocational Education. International Journal of Instruction. 13 (3), 371-386.

Center For Teaching Innovation (2 5 6 2) [Online], Available: http://www.cte.cornell.edu (2020, 20 January).

Gifkins, J. (2015). What Is ‘Active Learning’ and Why Is It Important? E-internationalrelations. [Online], Available: http://www.eir.info/2 0 1 5 / 1 0 / 0 8 / what-is-activelearning-and-why-is-it-important. (2020, 23 January).

H. Thomas, et al. (2021). "Self-Supervised Learning of Lidar Segmentation for Autonomous Indoor Navigation," 2021 IEEE International Conference on Robotics and Automation (ICRA), 2021, pp. 14047-14053.

José Gómez-Galán et al. (2020). Measurement of the MOOC Phenomenon by Pre-Service Teachers: A Descriptive Case Study. Education Science 2020, 10, 215 [Online], Available https://www.mdpi.com/journal/education.

Oh, Kyungseon & Lee, Soo-Hee. (2021). Application of Home Economics Teaching-Learning Plan in the Clothing For Teenager’s Empowerment. Journal of Korean Home Economics Education Association. 33 (1), 169-184.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022