ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

ธรรมรัตน์ เม่งพัฒน์
ประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง
เฉลิมชัย วิโรจน์วรรณ
ครุศิลป์ อวนศรี
สุวรรณา ยุทธภิรัตน์
นิษรา พรสุริวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร2)เพื่อศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา3)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา4)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต1จำนวน400คนโดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มแบบง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์สถิติการถดถอยพหุคูณ แบบ Stepwise


ผลการวิจัยพบว่า


1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษา โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก


2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสถานศึกษา โดยภาพรวม


3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r XY = .567) กับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4. ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา เรียงลำดับตามความสำคัญ ดังนี้ ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ (X7) ด้านการควบคุมเวลาในการสอน (X6) ด้านการพัฒนาเพื่อนำไปสู่มาตรฐานทางวิชาการ(X11) ด้านการพัฒนาเพื่อนำไปสู่มาตรฐานทางวิชาการ (X10) ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน (X1) ด้านการประสานงานด้านหลักสูตร (X4) ด้านการนิทศและการประเมินผลด้านการสอน (X3) ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน (X5) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยทั้ง 8 ปัจจัย ดังกล่าว ได้ร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 97.40 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้


สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ
Y = .256+.443X7 +.290X6 + .201X11 -.178X10 +.133X1 + .027X4 + .192X3 - .174X5


สมการในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน
ZY = .581X7 +.433X6 + .308X11 -.186X10 +.165X1 + .048X4 + .259X3 - .230X5


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือการดำเนินงานนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555).ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการพัฒนาแประเมินสถานพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.

กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 .[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3847/1/61252301.pdf

ณัฏฐธิดา มูลทรัพย์ และนิษรา พรสุริวงษ์. (2567). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(21), 115-127. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/

ต่วนฮัสนะห์ ลาดอ ,จรุณี เก้าเอี้ยน,และพิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ.(2567).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 .วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 35(1), 107-121. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edupsu/article/view/260510

ธาดา วิกัยวราภรณ์ และคณะ. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานครกลุ่มกรุงธนเหนือ .Journal of Modern Learning Development . 8 (7), 98-114. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jomld/issue/view/17481

ปิยะวรรณ แวววรรณจิตต์, ชไมพร ดิสถาพร และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตทุ่งครุ.วารสารบริหารการศึกษา มศว. 15(29), 1-10. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/EAJ/article/view/11215/9246

วรญา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, นพรัตน์ ชัยเรือง, และมะลิวัลย์ โยธารักษ์. (2563). วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช.วารสารนาคบุตรปริทรรศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 12(3), 126-138. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/nakboot/article/view/244500

ยุรพร ศุทธรัตน์. (2558). องค์การเพื่อการเรียนรู้. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมถวิล ศิลปคนธรรพ์.(2566).ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร.[วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000009283

สุกฤตา วัฒนเกษมสกุล .(2562).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3 .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่]. https://oar.hu.ac.th/wp-content/uploads/2019/11/Sukrita.pdf

สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม, ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ และสุชาติ สืบทอง. (2566). ภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ,1(2), 1-13. https://so07.tci-thaijo.org/index.php/VRUJ/issue/view/375

David C. & Thomas, D.A. (1989). Leadership in Organization. (2nd ed). Englewood cliffs, P Hall.

Hallinger, P., & Murphy, M. ( 1985). Assessing the instructional management behavior of principals. The Elementary School Journal. 8 (6), 221-224.

Leithwood, K. (2006). A review of the research: Education leadership. The laboratory forstudent success at temple university center for research in human development and education. University of Toronto.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Artand Practice of the Learning Organization.Doubleday Currencey

Seyfarth, J. T. (1999). The principal: New leadership for new challenger. Prentice-Hall.

Yamane,T. (1973). Statistics: an introductory analysis: Harper& Row .