การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการแต่งกลอนสุภาพผ่านห้องเรียนออนไลน์ (online classroom) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)

Main Article Content

รมย์ธีรา ศิริพงศ์วรกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการแต่งกลอนสุภาพผ่านห้องเรียนออนไลน์ (online classroom) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้ชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการแต่งกลอนสุภาพผ่านห้องเรียนออนไลน์ (online classroom) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการแต่งกลอนสุภาพ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า


1.ชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการแต่งกลอนสุภาพผ่านห้องเรียนออนไลน์(online classroom) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.21/81.61 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด


2.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะเรื่องการแต่งกลอนสุภาพผ่านห้องเรียนออนไลน์ (online classroom) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลปรากฏว่า นักเรียนจำนวน 40 คน มีผลการทดสอบก่อนเรียน gif.latex?\tilde{x}=12.05 , S.D.=1.81 และมีผลการทดสอบหลังเรียน gif.latex?\tilde{x}=16.32, S.D.=1.54 สรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


จากการวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรมีการสร้างแบบฝึกทักษะที่เน้นการปฏิบัติได้จริง เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการแต่งคำประพันธ์ จึงจะส่งผลให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการแต่งคำประพันธ์ได้ดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดสาระแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.

จตุพล ดวงจิตร. (2564). การประยุกต์ใช้การสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(3), 1-10. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/253585

จิรัชยา จันทร์พงษ์ศรี, เบญจพร สว่างศรี และปริญญา เกิดปัญญา. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้ระบบห้องเรียน Google Classroom รายวิชาทัศนียภาพและการตกแต่ง สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ, 6(1), 1-11. https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JSciTech/article/view/308/

จิราพร บุดดีอ้วน. (2564). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนประโยคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองบัวงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบึงกาฬ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร]. https://gsmis.snru.ac.th/e-thesis/file_att1/2022060661421247118_fulltext.pdf

ชลธิชา เลิศวิสุทธินันท์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับเกม KAHOOT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต]. https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/87

ณัฐกานต์ กัณโสภณ และ สวนันท์ แดงประเสริฐ. (2565). การพัฒนาชุดฝึกทักษะออนไลน์โดยใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างเว็บแอปพลิเคชัน. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 4(2), 37-50. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edudru/article/view/259086/

ธนวรรณ เจริญนาน, สิริยุพิน ศุภ์ธนัชภัคชนา และปริญญา ทองสอน. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom เรื่องการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยไมโครซอฟท์เพาเวอร์พ้อย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 7(1), 381-396. http://ojs.mbu.ac.th/index.php/edj/article/view/424/

นฐพร ลัยรัตน์, ธนะวัฒน์ วรรณประภา และ นคร ละลอกน้ำ. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง สมุนไพรจากพืชใบเลี้ยงคู่ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(78), 125-131. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/196678/

นูรีมาน สือรี. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเลขยกกำลัง โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ]. http://ir.tsu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/248/1/Nuriman%2000210180.pdf

ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี]. https://etheses.rbru.ac.th/showthesis.php?theid=289&group=19

พิชญ์ชลิดา วงศ์สิริบวรกุล. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญจากสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ โดยใช้แผนผังความคิดสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ บูลสงคราม]. http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=th/node/446

ภัทร์ศยาพรรณ เกตุสิงห์. (2562). การพัฒนาชุดการสอน เรื่องการแต่งกลอนสุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57920396.pdf

มาริสา เหมันต์ และประภาษ เพ็งพุ่ม. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน CIPPA ร่วมกับอินโฟกราฟิก. วารสารวิชาการ หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(38), 73-82. https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=942

ยุพาภรณ์ หงส์สามารถ และอรนุช ลิมตศิริ. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง สารละลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้บทเรียนออนไลน์ใน Google Classroom กับการสอนแบบปกติ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 355-370. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248838/

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/242473/

ศศิกัญญา กัลป์ทอง. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก วิชาภาษาไทย ที่มีต่อความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 425-439. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/256538/

สุจินดา นวนแก้ว. (2565). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (Learning Together) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. https://tdc.thailis.or.th/tdc/dccheck.php?Int_code=94&RecId=12598&obj_id=94978