การประยุกต์ใช้การสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ ด้วยแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน
คำสำคัญ:
การสอนแบบออนไลน์, การจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานบทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาใช้ร่วมในการจัดการเรียนการสอน โดยการออกแบบการสอนแบบออนไลน์เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ของผู้เรียน และเป็นการเพิ่มรูปแบบของการกิจกรรมของผู้สอนได้มากขึ้น จะทำให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้น และหากมีการนำแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานหรือ Phenomena-based learning: PhenoBL ซึ่งเป็นแนวการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจากการตั้งคําถามหรือกําหนดปัญหา เพื่อนําผู้เรียนไปสู่การค้นหาคําตอบ และแก้ปัญหา โดยการนําปรากฏการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงให้ผู้เรียนสังเกตด้วยมุมมองที่หลากหลาย ใช้กระบวนการสืบเสาะด้วยการใช้ปัญหาเป็นฐาน ผ่านการบูรณาการกับสหวิทยาการ ขยายขอบเขตแห่งการเรียนรู้ออกนอกห้องเรียน ผู้เรียนมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ผ่านการลงมือกระทํา ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้และเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21 การประยุกต์ใช้การสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดเรียนการสอนแบบเดิม ผ่านแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน จึงเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะต่อการนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพในบริบทสังคมไทยต่อไป
References
ชาลิสา จิตบุญญาพินิจ. (2559). ผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนอีเลิร์นนิ่ง ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11. เอกสารประกอบการประชุมของมหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
ฐิติพร บุญธรรม และสุมาลี ชูกำแพง. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพในร่างกาย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 31(1), 46-58.
พัชรา คงเหมาะ. (2560). แนวทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานผลการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
อนุชา สะเล็ม. (2560). การประยุกต์ใช้ E-Learning ในกระบวนการเรียนการสอนวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจมีนบุรี กรุงเทพ. (วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต). วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจมีนบุรี, กรุงเทพมหานคร.
ชลาธิป สมาหิโต. (2562). "การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสําหรับเด็กปฐมวัย." วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 38(1): 113-129.
ปิยะพันธ์ พิชญ์ประเสริฐ อัจฉรีย์ พิมพิมูล และมาลีรัตน์ ขจิตเนติธรรม. (2562). องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดเดอะบิกซิกและกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสอบ เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 30(3), 174-184.
พงศธร มหาวิจิตร. (2560). "นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์" นิตยสาร สสวท 46, 3: 40-45.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). "การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน." วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 46,2 (เมษายน-มิถุนายน): 348-365.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานการอบรมหลักสูตร Science Education for Science and Mathematically Gifted Learner The Normal Lyceum of Helsinki, Faculty of Behavioral Sciences in University of Helsinki 13 - 20 มีนาคม 2562. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา