ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จ ในการปฏิบัติสหกิจศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565

Main Article Content

วัฒนาพงษ์ ใหม่เฟย
วิกานดา ใหม่เฟย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาสหกิจศึกษา และระดับความคิดเห็นเรื่องการปฏิบัติสหกิจศึกษา รวมถึงความคิดเห็นเรื่องความสำเร็จในการปฏิบัติสหกิจศึกษา และ 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการปฏิบัติสหกิจศึกษา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 4 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร ประจำปีการศึกษา 2565 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทั้งหมด จำนวน 118 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัย พบว่า


1)ผู้ให้ข้อมูลส่วนมากเกินครึ่งหนึ่งระบุ เป็นเพศชาย จำนวน 72 คน ร้อยละ 61.00 และเพศหญิง จำนวน 46 คน ร้อยละ 39.00 อายุโดยเฉลี่ย เท่ากับ 22 ปี ระดับความคิดเห็นเรื่องการปฏิบัติสหกิจศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.02 และระดับความคิดเห็น เรื่องความสำเร็จในการปฏิบัติสหกิจศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.77


2) มีตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม จำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ 1) กิจกรรมเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา (gif.latex?\beta=.453, t=7.610, p-value=.000) และ2) ทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติสหกิจศึกษา (gif.latex?\beta=.285, t=3.318, p-value=.001) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในการปฏิบัติสหกิจศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การทดสอบตัวแปรอิสระทั้งหมด มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม หรือความสำเร็จในการปฏิบัติสหกิจศึกษา ร้อยละ 73

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2556). แนวทางในการพัฒนารูปแบบสหกิจศึกษาของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พัชริทร์ เชื้อภักดี, รัชนีวรรณ ตั้งภักดี และบุญชู บุญลิขิตศิริ. (2560). การพัฒนารูปแบบการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 132-142. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JournalGradVRU/article/view/108227

พนิดา พานิชกุล, ลัทธกาญจน์ กุยแก้ว, และอภิวัฒน์ สกุลเหลือง. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการงานฝึกสหกิจศึกษา และฝึกประสบการณ์วิชาชีพแบบออนไลน์ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(1), 135-152.

https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JMDUBRU/article/view/203216

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (ม.ป.ป). คู่มือสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.http://www.education.mju.ac.th/CoopMaejo/doc/Manual.pdf

เริงศักดิ์ พันธมาศ, และอุบลรัตน์ โสสนุย. (2562). คุณลักษณะของสถานประกอบการที่เหมาะสมกับการจัดสหกิจศึกษา 8 เดือน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. https://citly.me/VkXF8

เรืองยศ วัชรเกตุ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาคณะ วิทยาศาสตร์เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/e-jodil/article/view/233922

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.

สุภัทรา ปานสุวรรณจิตร์. และชัยรัตน์ ปานสุวรรณจิตร์. (2554). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาโครงการสหกิจศึกษา สาขาบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพเชียงใหม่. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพเชียงใหม่.

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in education. Allyn and Bacon.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. McGraw-Hill.