การพัฒนารูปแบบการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

พัชริทร์ เชื้อภักดี
รัชนีวรรณ ตั้งภักดี
บุญชู บุญลิขิตศิริ

Abstract

บทคัดย่อ


           งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ
การพัฒนารูปแบบการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา จำนวน 16 คน เจ้าหน้าที่วิชาการที่ดำเนินงาน สหกิจศึกษาจำนวน 4 คน นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 50 คน และเจ้าของสถานประกอบการหรือพนักงานที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 70 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการรับรองรูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านสหกิจศึกษา จำนวน 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 3 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบรับรองรูปแบบสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ


           ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพปัญหาพัฒนารูปแบบการนิเทศงานสหกิจศึกษา พบว่านักศึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และสถานประกอบการ มีปัญหามากที่สุด คือปัญหาการดำเนินงานในขั้นตอนการนิเทศงานสหกิจศึกษาของการประชุมเพื่อวางแผนการนิเทศ วิธีการสร้างความเข้าใจ และการศึกษาประเด็นการจัดอบรมให้ความรู้ การค้นคว้าด้วยตนเอง การติดตามผลการนิเทศงานสหกิจ การสร้างขวัญกำลังใจตนในการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกระบวนการประเมินผล ติดตาม และแก้ปัญหาในระหว่างปฏิบัติงานในส่วนของความต้องการพัฒนารูปแบบการนิเทศงาน สหกิจศึกษา พบว่านักศึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และสถานประกอบการ ความต้องการมากที่สุด คือการประชุมเพื่อวางแผนการนิเทศ การปฏิบัติงานสหกิจศึกษาผ่าน E-mail การสร้าง ความเข้าใจและการศึกษาความรู้เกี่ยวกับงานสหกิจศึกษาจากการปฐมนิเทศ การกำหนดหน้าที่การนิเทศงาน การจัดทำปฏิทินนิเทศ และติดตามการดำเนินงานนิเทศ การสนับสนุนงบประมาณ การปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน การสร้างขวัญกำลังใจแก่ตนด้วยกระบวนการติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำเมื่อมีปัญหา การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการกระบวนการประเมินผล ติดตาม และแก้ปัญหาในระหว่างปฏิบัติงานด้วยการสอบถามจากสถานประกอบการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

  2. ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา พบว่าผู้เชี่ยวชาญ               เห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับ 1) ผู้เกี่ยวข้องการนิเทศควรประกอบด้วยนักศึกษาสหกิจศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา พนักงานที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่สหกิจศึกษา 2) กิจกรรมการนิเทศในการวางแผนการนิเทศ การสร้างความเข้าใจและการให้ความรู้ การปฏิบัติการนิเทศการสร้างขวัญกำลังใจ และการประเมินผลการนิเทศ 3) การประเมินผลการนิเทศใช้เครื่องมือในการนิเทศเป็นแบบประเมินนักศึกษาสหกิจฯ แบบประเมินสถาบันอุดมศึกษา และแบบประเมินของพนักงานที่ปรึกษา 4) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการนิเทศ 5) ขั้นตอนของรูปแบบการนิเทศเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการนิเทศ 6) การเตรียมตัวและการกำหนดนัดหมายด้วยการนัดหมายผ่านกระดานข้อความกิจกรรม 7) การติดตามแผนการนิเทศงานสหกิจศึกษาด้วยการสอบถามกำหนดการทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ตลอดเวลาผ่านกระดานข้อความหรือกล่องข้อความ 8) การสร้างความเข้าใจและการให้ความรู้  โดยวิธีการสร้างความรู้ด้วยการปฐมนิเทศงานสหกิจศึกษา 9) ทักษะความรู้ที่จำเป็นและการใช้เครื่องมือด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศว่า 10) ขั้นการปฏิบัติการนิเทศในการกำหนดหน้าที่/การดำเนินการนิเทศ 11) การสนับสนุนและพัฒนาการปฏิบัติการสนับสนุนงบประมาณ กำหนดหน้าที่ผู้นิเทศ/ผู้รับการนิเทศ 12) ช่องทางการติดตามผลการนิเทศผ่านช่องทางโทรศัพท์มือถือและสื่ออิเล็คทรอนิคส์ 13) การติดตามควบคุมคุณภาพการนิเทศงานสหกิจศึกษา และการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ 14) ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานในการดำเนินการนิเทศงาน และ 15) ขั้นประเมินผลการนิเทศ การประเมินเมื่อฝึกปฏิบัติงานเสร็จและนำผลการประเมินที่ได้มาสรุป ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนางานนิเทศสหกิจศึกษา

  3. รูปแบบการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 3 องค์ประกอบได้แก่ 1.1) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศ ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา เจ้าหน้าที่วิชาการที่ดำเนินงานสหกิจศึกษานักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และเจ้าของสถานประกอบการหรือพนักงานที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมาย 1.2) กิจกรรมการนิเทศ  และ 1.3) เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการนิเทศ  และ 2) ขั้นตอนของการนิเทศในงานสหกิจศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศจำนวน 5 ขั้นตอน ได้แก่ 2.1) ขั้นวางแผนการนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.2) ขั้นสร้างความเข้าใจและการให้ความรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.3) ขั้นปฏิบัติการนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 2.4) ขั้นการสร้างขวัญกำลังใจด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 2.5) ขั้นประเมินผลการนิเทศด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

 


ABSTRACT


         The research aimed to 1) study the states, problem and needs of IT supervision model in the cooperative education for Faculty of Architectures, Thailand northeastern universities,  2) study the experts’ opinion toward the model, 3) present the information technology supervision procedures model of the cooperative education for Faculty of Architectures,  in Higher Education Institutions. The sample of the research consisted of 1) the sample for studying the states and needs; 16 lecturers, 4 academic technicians, 50 students, and 70 entrepreneurs and consultants, 2) the sample for model verifying; 3 cooperative educational experts and 3 IT experts. The research instruments were a questionnaire and a model verifying form. The statistics used means, and percentage.


             The research findings were as follows,


  1. The overall for development of supervision model’ states, problems and needs, ranged from the highest to the lowest means scores; supervision advisors, the entrepreneurs. Their problems were the supervisory operation, supervisory procedures, strategic planning meeting and training topics, self retrieval, monitoring, morale promotion, assessment and evaluation procedures, and problems solving during operation respectively. The individual for the sample’s needs were, an E-mail was used for the trainee supervisory planning meeting, an orientation was used for understanding comprehension, task setting, supervision, calendar setting, and IT interview was used for monitoring, budgeting, and morale quality improvement, operating, morale promotion by contact their advisors when they need such as discussion when they have problems, assessment procedures, monitoring, and problems solving during their operation.

  2. The experts’ opinion toward the IT model found that 1) the supervisory accomplices consisted of students, advisors, consultants and technicians. 2) Supervise the supervisory planning, comprehension and coaching, operating, morale promotion, and evaluation 3) the evaluation used a student assessment form, a higher education institutions assessment form, and the consultant assessment form 4) Using IT for supervision 5) the procedures of the supervisory model, 6) preparation and making appointment through the web board 7) monitoring through the web board or message box, 8) comprehension and training by orientation, 9) essential skills and literacy through the IT 10) supervision procedures, task setting, operating, 11) promotion and operating improvement, budgeting, supervisors and supervisees function, 12) the monitoring methods used mobile phones and electronics medias 13) the routine quality control and evaluation 14) morale promotion, and supervision standardization, and evaluation, post assessment, problems conclusion, improvement, and development the cooperative education system.

  3. The IT cooperative model consisted of 1) There were 3 compliments of the IT Supervision Model 1.1) the supervision accomplices such as lecturers, technicians, students, and the entrepreneurs or consultants. 1.2) supervisory activities, and 1.3) supervisory Information technology. 2) There were 5 steps for supervision 2.1) planning
    2.2) comprehension and training 2.3) operation 2.4) morale promotion 2.5) evaluation

Article Details

Section
Research Article