การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายด้วยการแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชัน

Main Article Content

สุภัทรา สดเอี่ยม
พงษ์ภิญโญ แม้นโกศล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้การสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชันกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจ ต่อการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยการแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชัน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำกับแรงจูงใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชัน การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนคลองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 40 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชัน แบบสอบถามแรงจูงใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และทดสอบ นัยสำคัญทางสถิติ


ผลการวิจัยพบว่า


1) ทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายโดยใช้การสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชันหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


2)แรงจูงใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชันอยู่ในระดับมาก


3)ทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำกับแรงจูงใจต่อการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการแจกลูกสะกดคำร่วมกับเกมมิฟิเคชันมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ณัฐพงศ์ มีใจธรรม และทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิคเกมมิฟิเคชั่น (GAMIFICATION) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 32(2), 76-90. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/251324

ตรัง สุวรรณศิลป์. (2564). เกมมิฟิเคชันจูงใจคนด้วยกลไกเกม. สำนักพิมพ์ Sait

แพง ชินพงศ์. (2558). สพฐ.สั่ง ร.ร. ปรับสอนแบบแจกลูกสะกดคำ สนองพระราชดำรัส “สมเด็จพระเทพฯ”. https://mgronline.com/qol/detail/9580000008492

ภานุวัฒน์ จารุนัย และแสงเดือน คงนาวัง. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคําศัพท์พื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนอ่านแจกลูกสะกดคําร่วมกับเกมทางภาษากรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนาดี ตําบลพังงู อําเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 130-141. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/249355

ภัทรวดี ถิ่นกาญจนกุล, สมภักดิ์ โชติสกุล, และ ศุภรดา สุขประเสริฐ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านแจกลูก (สะกด) คำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเทพนคร. https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/1556013422.pdf

วรางคณา แสงธิป . (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบเกมมิฟิเคชันร่วมกับวิธีการสอนแบบเน้นภาระงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและแรงจูงใจในการเรียน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis- ir.su.ac.th/dspac/bitstream/123456789/3553/1/620620070.pdf

วรรณธิดา ยลวิลาศ. (2562). การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ด้วยเกมมิฟิเคชั่น. “นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และ สังคมศาสตร์เพื่อความยั่งยืน”. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ครั้งที่ 1. (378-391) คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

วัชรภรณ์ วัตรสุข. (2558). ปัญหาภาษาไทยสู่การวิจัย. https://www.gotoknow.org/posts/152428

สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. www.niets.or.th

สถาบันภาษาไทย. (2558). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. https://www.sakonarea1.go.th/newsfile/p94012931359.pdf

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. http://www.ipst.ac.th

สุรพล บุญลือ. (2561) สรุปการบรรยายการอบรมเชิงวิชาการ Gamification In Education. http://qa.hcu.ac.th/km/fileuploads/Gamification-2561.pdf

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมจิต จันทร์ฉาย, พิชญา รุ่งเรือง, จุฑามาศ แก้วประหลาด, ชลธิชา กล่อมสมร, จุรีภรณ์ คงหมวก, ทรายแก้ว ประเสริฐการ, กิตติยา ทองเชื้อ, และกมลชนก คงกระพันธ์. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านแจกลูกสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียน ในระดับประถมศึกษา. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 (1489-1497) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. https://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/141/1

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. (2565). โรงเรียนในสังกัด. https://data.bopp-obec.info/ emis/school.php?Area_CODE=1101

สํานักงานอุทยานการเรียนรู้ สำนักบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2553). รายงานการวิจัย เรื่อง การศึกษาสถานการณ์การอ่านและดัชนีการอ่านของไทย ปี 2553: การพัฒนาดัชนีการอ่านและการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีการอ่าน. https://www.tkpark.or.th/stocks/extra/00043b.pdf

อดิศักดิ์ เมฆสมุทร, สุรพล บุญลือ, และกีรติ ตันเสถียร. (2560). การพัฒนาความสามารถการอ่านคำควบกล้ำโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านร่วมกับเทคโนโลยีผสานความจริง ที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้เทคนิคเกมมิฟิเคชันสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 10(1), 550-564. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/86446

อภิสิทธิ์ เจริญชัย. (2563). การส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยใช้เกมมิฟิเคชันร่วมกับสื่อสังคมสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวานรนิวาส. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2563/M128373/Jareonchi%20Abhisit.pdf

Bunchball, L. (2010). Gamification. http://jndglobal.com/wp-content/uploads/2011/05/gamification1011.pdf

Kapp, M. (2012). The gamification of learning and instruction: game-based methods and strategies for training and education. Pfeiffer

Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. (New York: Harper and Row Plublisher, 1954), Under “A Theory of Human Motivation.” https://www.eyco.org/nuovo/wp-content/uploads/2016/09/Motivation-and-Personality-A.H.Maslow.pdf