การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกการอ่านแบบเกมกระดาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาไทยและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกการอ่าน แบบเกมกระดานเรื่อง การอ่านและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย 3) แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกการอ่านแบบเกมกระดานชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.91/82.08 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกการอ่านแบบเกมกระดาน มีความสามารถในการอ่านภาษาไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับชุดฝึกการอ่าน แบบเกมกระดาน มีการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 2.66)
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย.
ขวัญชนก ชมกลาง. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน (Board Game) ที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง พื้นที่ผิว ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร, 5(1), 7-20. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/download/28419
ชาคริสต์ ขำศรี, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม และวนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนา การจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน (Board Game) ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(10), 297-312. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/256117
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2556). เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนภาษาไทย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
นิราศ จันทรจิตร. (2553). การเรียนรู้ด้านการคิด. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภริตา การะภาพ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับการใช้สื่อโมชันกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนตรี สังข์ทอง. (2557). หลักสถิติ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย. (2564). รายงานการประชุมสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ปีการศึกษา 2563. โรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย, เทศบาลนครเชียงใหม่.
วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และกันตภณ ธรรมวัฒนา. (2560). พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบ ของปัจจัยทางด้านผลกระทบจากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม, 40(2), 107-132.
วนิดา พรมเขต. (2559). การพัฒนาทักษะการอ่าน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2540). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภา วรรณฉวี. (2565). การคิดวิเคราะห์. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
Caine, R. N., & Caine, G. (1990, October). Understanding a brain-based approach to learning and teaching. http://poncelet.math.nthu.edu.tw/chuan/note/note/brain-based
Marzano, R. J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objectives. Corwin Press.