การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน (Board Game) ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม และเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 คน งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 4 วงจร เวลา 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนเต็ม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบหลังเรียนแต่ละแผน และแบบทดสอบมโนทัศน์หลังเรียนจบทั้ง 4 แผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม มีประเด็นควรเน้น ได้แก่ การทบทวนความรู้เดิม การแบ่งกลุ่มคละความสามารถ การมีกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน การมีส่วนร่วมของผู้สอน การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน การให้ผู้เรียนได้เล่นเกมจริง การกระตุ้นให้ผู้เรียนนำมโนทัศน์ไปใช้ในสถานการณ์อื่น การตรวจสอบความถูกต้องของมโนทัศน์ 2) ผู้เรียนส่วนใหญ่มีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับแนวความคิดที่สมบูรณ์ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากการเล่นเกมกระดานในแต่ละวงจร โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดาน จะทำให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้มโนทัศน์จากประสบการณ์ตรง ได้แสดงความคิดเห็น อธิบายแนวคิด แลกเปลี่ยนวิธีเล่นเกม และสรุปมโนทัศน์หลังจบเกม
Article Details
References
จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. (2541). ความแตกต่างทางเพศในเกมและกิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็ก. วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา. 2 (1), 79-85.
เฉลิมวุฒิ คำเมือง และไพรัชช์ จันทร์งาม. (2560). การศึกษาและสร้างนวัตกรรมที่ใช้แก้ไขมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ในสาระจำนวนและการดำเนินการของนักศึกษาครูคณิตศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ใน ยุทธกร ฤทธิ์ไธสง (บ.ก.), มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคมพลังขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุค 4.0. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 7 (น. 377 - 387). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธเนศ อินเมฆ. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อประสม เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32 (2), 121-128.
นวพล นนทภา. (2563). การศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางตรรกศาสตร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 17 (3), 41-53.
ประพนธ์ เจียรกูล. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการศึกษาของสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 8 (2), 202-207.
ปาริชาต ผาสุข. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแบบ DEEPER Scaffolding Framework. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิมพ์สิรี พุ่มพิษ. (2564). การพัฒนาทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร โดยใช้บอร์ดเกม Ultimate Werewolf ในรายวิชา ท 21101 ภาษาไทย 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกลางดงปุณณวิทยา อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน. 3 (3), 14-24.
เมธี ลิมอักษร. (2524). แนวคิดในการสอนคณิตศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา.
รุ่งอรุณ ลียะวณิชย์. (2556). คู่มือครูคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์ด้วยเกม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลดาวัลย์ แย้มครวญ. (2560). การใช้เกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 7 (1), 33-41.
วันชาติ เหมือนสน. (2546). เทคนิคการสอนเกม. สุพรรณบุรี: งานผลิตเอกสารและตำราฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี.
ศศิธร โพธิสาร. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โดยใช้เกมคณิตศาสตร์ร่วมกับ Interactive Notebook. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 11 (น. 218). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
สฤณี อาชวานันทกุล. (2559). Board game universe จักรวาลกระดานเดี่ยว. กรุงเทพมหานคร: แซลมอน.
สาโรตม์ ศิโรตมานนท์. (2554). คู่มือนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ : เกมประกอบการเรียนการสอน. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1.
สุวิทย์ มูลคำ. (2551). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. (7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การพิมพ์.
อัมพร ม้าคนอง. (2557). คณิตศาสตร์สำหรับครูมัธยม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Arends, R.I. (1994). Learning to Teach. (3rd ed). New York: McGraw-Hill.
Jessica, E. (2016). Playing number board games supports 5-year-old children’searly mathematical development. The Journal of Mathematical Behavior. 43, 134-147.
Jimenez-Silva, M., White-Taylor, J.D. & Gomez, C. (2010). Opening Opportunities through Math Board Games: Collaboration between Schools and a Teacher Education Program. IUMPST: The Journal. 2, 1-8.