การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอนหวายราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ มีประสิทธิภาพ 80.81/77.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 15.55 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.78 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติ มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 50 ของคะแนนแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 37.33 คิดเป็นร้อยละ 69.14
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับ บทเรียนออนไลน์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอน แนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดอนหวายราษฎร์บำรุง จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) บทเรียนออนไลน์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Rank Test
ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ มีประสิทธิภาพ 80.81/77.78 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 15.55 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 77.78 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์ มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 50 ของคะแนนแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 37.33 คิดเป็นร้อยละ 69.14
Downloads
Article Details
References
กมลทิพย์ เกตุศรี. (2564). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการนึกภาพ (Visualization) กับการสอนแบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1883/1/gs611130001.pdf
กัณฐิมา กาฬสินธุ์, สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และ ณัฐพล รำไพ. (2565). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเราสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(16), 158-170. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/258703
ชัชวิทย์ จำปา. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค TGT. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(2), 96-108. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/259128
ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์ และอัมพร วัจนะ. (2564) การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites เรื่องสมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5, วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 260-274. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/248284
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 14 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74. หน้า 1-23.
มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ตักสิลาการพิมพ์.
วันเพ็ญ กันสุทธิ. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาการออกแบบและนำเสนอ เรื่องการดราฟรูปโดยใช้โปรแกรม Illustrator สำหรับนักเรียนโครงการนักกีฬาพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา]. https://webopac.lib.buu.ac.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00254484
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2552). การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI): รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(1), 1-11. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/edubuu/article/view/5355/4701
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล, นิรมล ศตวุฒิ และระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน. (2556). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564, 21 เมษายน). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563, http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุนิสา บุญมา. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามแบบ โสเครติส เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 21(1), 77-91 https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12519
Carpenter, T. P., Fennema, E., Peterson, P. L., Chiang, C. and Loef, M. (1989). Using Knowledge of Children’s Mathematics Thinking in Classroom Teaching: An Experimental Study. American Educational Research Journal, 26(4), 499–531. https://www.jstor.org/stable/1162862