การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กัณฐิมา กาฬสินธุ์
สัญชัย พัฒนสิทธิ์
ณัฐพล รำไพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการ ดำเนินการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน โรงเรียนวัดประดู่ ธรรมาธิปัตย์ สำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิด การเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียน กลับด้าน 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน


ผลการวิจัยพบว่า


1) บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินด้านเนื้อหามีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.82 , S.D.= 0.31) และด้านเทคนิคมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.59, S.D.= 0.58 และมีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เท่ากับ 82.44/85.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด


2) ผลการศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล มีค่าเท่ากับ 0.7396 นักเรียนมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.96


3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้ห้องเรียนแบบกลับด้าน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งรอบตัวเรา (μ = 4.58 , gif.latex?\sigma= 0.10 ซึ่งอยู่ ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556) การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) http://www4.educ.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf

ดลพร ใบบัว. (2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกตามแนวคิดไมโครเลิร์นนิงร่วมการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), https://so02.tcithaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/255686

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน (ม.ป.ป.). อรุณการพิมพ์.

ธิติมา อ่อนเยียะ. (2565). การพัฒนาสื่อวิดีทัศน์ปฏิสัมพันธ์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ห้องรียนกลับด้านแบบออนไลน์ เรื่อง ภาษาท่าและนาฏยศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2565). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15), https://so02.tcithaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/255687

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

ปุณญิศา เมืองจันทึก. (2565). การพัฒนาการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ โดยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะปฏิบัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(15),https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/254349

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74.