ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

กนกเนตร เปรมปรี
พัสกร สิงห์โต

บทคัดย่อ

การเรียนอิเล็กทรอนิกส์เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือและสื่อกลางสำหรับการเรียนการสอนอย่างแพร่หลายในปัจจุบันและในอนาคตหลักสูตรการเรียนในมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่หลักสูตรออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล งานวิจัยนี้จึงศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจระดับความเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับปัจจัยและความสำเร็จของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความสำเร็จของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ. 2563 - 2564 และใช้แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการเรียน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามมีทั้งสิ้น 501 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 82.40 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติอ้างอิง การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าคุณลักษณะเฉพาะของผู้สอนมีคุณภาพในระดับมากที่สุด คุณลักษณะของแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ด้านรองรับการเรียนและด้านเทคนิค คุณลักษณะเฉพาะของผู้เรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก รวมถึงความสำเร็จของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมากเช่นกัน นอกจากนี้ พบว่าปัจจัยทั้งสี่ ประกอบด้วย (1) คุณลักษณะของแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ด้านเทคนิค (2) คุณลักษณะของแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ด้านรองรับการเรียน (3) คุณลักษณะเฉพาะของผู้เรียน และ (4) คุณลักษณะเฉพาะของผู้สอนมีอิทธิพลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความสำเร็จของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (p=.001, p<.001, p<.001, p<.001 ตามลำดับ) และพบว่าอิทธิพลของปัจจัยคุณลักษณะของแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ด้านรองรับการเรียน (gif.latex?\beta=.255) ที่มีต่อความสำเร็จของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สูงกว่าอิทธิพลของปัจจัยคุณลักษณะของแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ด้านเทคนิค (=.143) ปัจจัยคุณลักษณะของผู้เรียน (gif.latex?\beta=.151) และปัจจัยคุณลักษณะเฉพาะของผู้สอน (gif.latex?\beta=.167)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศากร ศิริพันธุ์เมือง. (2564). สภาพและปัญหาการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชัฏสกลนคร ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มรภ.สกลนคร, 13(38), 131-140. https://jci.snru.ac.th/ArticleView?ArticleID=947

ปวีณา ลิมปิทีปราการ, นิยม จันทร์นวล, ฐิติมา แสนเรือง และกาญจนา แปงจิตต์. (2565). ทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(14), 176-187. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/254347

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561–2580. พริกหวานกราฟฟิค.

Alhabeeb, A. and Rowley, J. (2018). E-learning critical success factors: Comparing perspectives from academic staff and students. Computers & Education, 127, 1-12. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2018.08.007

Al-Fraihat, D., Joy, M., Masa’deh, R. and Sinclair, J. (2020). Evaluating E-learning systems success: An empirical study. Computers in Human Behavior, 102, 67-86. https://doi.org/10.1016/j.chb.2019.08.004

Aparicio, M., Bacao, F. and Oliveira, T. (2016). Cultural impacts on e-learning systems’ success. Internet and Higher Education, 31, 58-70. https://doi.org/10.1016/j.iheduc.2016.06.003

Aparicio, M., Bacao, F., Oliveira, T. (2017). Grit in the path to e-learning success. Computers in Human Behavior, 66, 388-399. https://doi.org/10.1016/j.chb.2016.10.009

Cooper, D. R., & Schindler, P. S. (2008). Business Research Methods. : McGraw-Hill.

DeLone, W.H., and McLean, E.R. (1992). Information Systems Success: The Quest for the Dependent Variable. Information Systems Research, 3(1), 9-30. https://doi.org/10.1287/isre.3.1.60

Farhan, W., Razmak. J., Demers, S. and Laflamme, S. (2019). E-learning systems versus instructional communication tools: Developing and testing a new e-learning user interface from the perspectives of teachers and students.Technology in Society, 59, 101192. https://doi.org/10.1016/j.techsoc.2019.101192

Hassanzadeh, A., Kanaani, F. and Elahi, S. (2012). A model for measuring e-learning systems success in universities. Expert Systems with Applications, 39(12), 10959–10966. https://doi.org/10.1016/j.eswa.2012.03.028

Hsieh, P. J. and Cho, V. (2011). Comparing e-Learning tools’ success: The case of instructor–student interactive vs. self-paced tools. Computers & Education, 57(3), 2025-2038. https://doi.org/10.1016/j.compedu.2011.05.002

Kutner, M. H., Nachtsheim, C. J. and Neter, J. (2008). Applied Linear Regression Models (4th ed.). :McGrawhill.