ทัศนคติต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Main Article Content

ปวีณา ลิมปิทีปราการ
นิยม จันทร์นวล
ฐิติมา แสนเรือง
กาญจนา แปงจิตต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษา ต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักศึกษา จำนวน 385 คน ที่ผ่านการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในภาคการศึกษาที่ 1/2563 ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ใช้แบบสอบถามตามแนวคิดของ CIPP model ในการเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2564


ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีทัศนคติที่ดีกับการเรียนการสอนออนไลน์ในด้านผู้สอน/รายวิชา/วิธีการสอน (Input evaluation: I) มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 (S.D.=0.74) และมีทัศนคติที่ดีน้อยที่สุด ในด้านการประเมินผลผลิต (Product evaluation: P) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.73 (S.D.= 0.91) รูปแบบการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมกับบริบทการเรียนของผู้เรียนในปัจจุบัน คือ การสอนสดออนไลน์ผ่านทางโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Google meet, Zoom, MS Team เป็นต้น เพราะโปรแกรมดังกล่าวฯ สามารถสอนและบันทึกคลิปวิดีโอการสอนซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้เรียนที่สามารถทบทวนเนื้อหา ที่เรียนย้อนหลังได้ตลอดเวลา มหาวิทยาลัยควรมีระบบสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น การจัดหาและให้ยืม เครื่องคอมพิวเตอร์/โน๊ตบุ้คแก่นักศึกษา หรือจัดหาห้องที่ใช้สำหรับให้นักศึกษาเรียนออนไลน์ โดยมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาที่ไม่มีอุปกรณ์

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
Research Article

References

เกตุม สระบุรินทร์, ศราวุฒิ แย้มดี และ ณัฏฐวัฒน์ ไชยโพธิ์. (2559). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนออนไลน์ด้วยโปรแกรม Moodle กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่7. (1-9) มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

นรินธน์ นนทมาลย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการออกแบบการสอนแบบเปิดด้วยวิธีการคิดอย่างเป็นระบบและกระบวนการกลุ่มโดยใช้วิดีโอเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรินธน์ นนทมาลย์, นริศรา เสือคล้าย, กัลวรา ภูมิลา, สุมิตรา อินทะ และณัฐพงษ์ พรมวงษ์. (2564). การสำรวจปัญหาการจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนิติมหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 16(20), https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ectstou/article/ download/245679/167174/

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(4), https://so06.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/116500/152329

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้ สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9.14(34), https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/242473/165778

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด. (2564, 25 ธันวาคม). เรียนออนไลน์ “ผู้ปกครอง” พร้อมไหม. https://www.kasikornre search.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Ed-Online-FB-14-06-21.aspx

สุวัฒน์ บรรลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), https://rerujournal.reru.ac.th/wp- content/uploads/2018/03/OK-27สุวัฒน์-บรรลือ.pdf