การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง งานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง งาน ให้มีคุณภาพเหมาะสม และประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง งาน 3) ศึกษาความสามารถทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง งาน 4) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง งาน 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอีเลิร์นนิง แบบผสมผสาน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง งาน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบ ผสมผสาน 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติ t-test
สรุปผลการวิจัยได้ว่า
1) บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน คุณภาพด้านเนื้อหาและการวัดและการประเมิน อยู่ในระดับคุณภาพในเกณฑ์ ดีมาก (= 4.68) และมีคุณภาพด้านสื่อและเทคโนโลยี อยู่ในระดับคุณภาพในเกณฑ์ ดี (= 4.40) และมีประสิทธิภาพ 82.05/75.22 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลคะแนนความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ค่าเฉลี่ยโดยรวม มีค่าเท่ากับ 2.51
4) ดัชนีประสิทธิผล (E.I) มีค่าเท่ากับ 0.5 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 50 5) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน อยู่ในระดับ ดี
Downloads
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ุ โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, 5(1), http://www4.edu c.su.ac.th/2013/images/stories/081957-02.pdf
ภัทรวรรธน์ ไกรปิยเศรษฐ์ และนรีรัตน์ สร้อยศรี. (2559). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งเครือข่ายสังคมออนไลน์แบบผสมผสาน วิชาการผลิตรายการโทรทัศน์แบบอีเอ็นจี สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6(11), http://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/JVTE/article/view/1759
ปวีณวัสสา บำรุงอุดมรัชต์ และอัมพร วัจนะ. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites เรื่องสมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/view/248284
พิพัฒน์ศักดิ์ ไชยวงษ์. (2562). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(4), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/etcedumsujournal/article/view/242353
รฐา แก่นสูงเนิน และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2559). การพัฒนาการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวตามแนวการสอนอ่าน แบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ของนักเรียนชั้นมัธมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิจัยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 702-716.
วิษณุ วงศ์อ่อนตา. (2559). การพัฒนาการเรียนแบบผสมผสานเพื่อสงเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3. Academic Journal: Uttaradit Rajabhat University, 11(1), https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/ article/view/65334
ศิริชัย นามบุรี. (2564). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบผสมผสาน รายวิชาปฏิบัติการเคมี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 236-251.
ศิริสุข ถนาวรณ์ และอินทิรา รอบรู้. (2563). การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐานในรายวิชาเคมี 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(79), https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/223971
อวิรุทธ์ วิชัยศรี สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และณัฐพล รำไพ. (2561). การพัฒนาอีเลิร์นนิงคอร์สแวร์แบบผสมผสาน เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 8(15), http://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/JVTE/article/view/2096
อำภา หอมบุปผา และกิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2563). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงแบบปัญหาเป็นฐาน วิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 15(2), 76-90.