รูปแบบการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศศิพงค์ ชำนาญยา
สุวดี อุปปินใจ
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย โดยใช้แบบสอบถามกับครูของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น 2) สร้างรูปแบบการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ในการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินความถูกต้องและความเป็นไปได้โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 15 คน วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


            รูปแบบการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย มีชื่อรูปแบบคือ “รูปแบบการบริหารบูรณาการระหว่าง รูปแบบการบริหารแบบทางการ (Formal Models) และรูปแบบการบริหารแบบอัตวิสัย (Subjective Models) สำหรับการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย โดยยึดศาสตร์พระราชาเป็นฐาน” ประกอบด้วย หลักการ 4 หลักการ วัตถุประสงค์ 3 ข้อ และองค์ประกอบของการบริหาร 8 องค์ประกอบ ประเมินรูปแบบมีความถูกต้องและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ชำนาญยา ศ. ., อุปปินใจ ส. ., & ตุ่นแก้ว ส. . (2024). รูปแบบการบริหารศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(3), 382–395. https://doi.org/10.2774.EDU2024.3.268649
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พุทธศักราช 2542 และแกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2560). แนวทางการดำเนินงาน โครงการสถานศึกษาน้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมกิจการการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงศึกษาธิการ.

พระมหาธีรเพชร มาตพงษ์. (2561). การสังเคราะห์รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียน พระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสยาม.

วันฤดี ปุยะติ. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านการงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7(2): 86-98.

สอาดลักษณ์ จงคล้ายกลาง. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างพลังอานาจของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดมพร อมรธรรม. (2549). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

Bush, T. (2003). Theories of Educational Leadership and Management. (3rd ed.). London: SAGE Publications Ltd.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Model of Teaching. (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Phengsawat, W. (2010). Research on developing models. Rajabhat Sakon Nakhon University Journal. 2(4): 2-14. [In Thai]

Udomsree, T. (2015). The School Management Model to Enhance the Professional Learning Community in Classroom Action Research. (Ph.D. Independent study in Educational Administration Division. Faculty of Education, Chulalongkorn University). [In Thai]