ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท

Main Article Content

ปฏิมา ชุมรำ
ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์
สายทิตย์ ยะฟู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับ              การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับ           การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารและครู จำนวน 405 คน ซึ่งได้มาจากการกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่, และมอร์แกน จากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.67–1.00 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการ ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ    เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


            1) ระดับสมรรถนะของผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายสมรรถนะพบว่า สมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การมุ่งผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ จิตมุ่งบริการอยู่ในระดับมากที่สุด และสมรรถนะที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การบริหารงานวิชาการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด และที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การนิเทศการศึกษา อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับ           การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน มีความสัมพันธ์กันทางบวกโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (rxy = 0.78) อยู่ในระดับสูง     ที่นัยสำคัญทางสถิติ .01

Article Details

How to Cite
ชุมรำ ป., โพธิพิทักษ์ ป. ., & ยะฟู ส. . (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(3), 342–353. https://doi.org/10.2774.EDU2024.3.268608
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ชนกานต์ เอี่ยมสะอาด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธัญดา ยงยศยิ่ง. (2560). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ยะลา เขต 3. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ประเสริฐ กำเลิศทอง. (2560). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประไพพรรณ ชำนาญชัด. (2562). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลของสถานศึกษาจังหวัดนครสวรรค์สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปรียานุช ธะนะฉัน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

พรวลี ตรีประภากร. (2564). สมรรถนะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2465). รายงานผผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://cnt.go.th/cnt/?name=ita64&file=12

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2557). สมรรถนะการบริหารที่ทำให้องค์กรเกิดการยอมรับ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565, จาก http://www.krubannok.com/blog/36790

สุทธาสินี คูเจริญทรัพย์ (2560). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุทธิศักดิ์ อ่อนตะวัน. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารกับความสุขของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุนันธิณีย์ ม่วงเนียม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนจัดการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุภิญญา กองสวรรค์. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 (พิจิตร). การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เอกชัย มดแสง. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research activities. Educational and

Psychological Measurement. 30(3): 607-610.