รูปแบบการบริหารโรงเรียนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ทิตยาทร อ่อนยิ้ม
ธิดารัตน์ สุขประภาภรณ์
สุวดี อุปปินใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) สร้างรูปแบบ และ 3) ประเมินรูปแบบ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการครู จำนวน 76 คน จำแนกเป็นข้าราชการครู จำนวน 71 คน และคณะผู้บริหาร จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสัมมนา จำนวน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ใน      การวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC= 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .709 - .776 2) แบบบันทึกข้อมูล กำหนดประเด็นสัมภาษณ์โดยการใช้ข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อคำถามโดยที่ปรึกษาการศึกษาอิสระ และ 3) แบบประเมินความถูกต้องและความเป็นไปได้ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC= 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .715 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายจาก ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย          ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า


            1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของรูปแบบการบริหารโรงเรียนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ฯ ในภาพรวมอันดับ 1 คือ รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน 2) รูปแบบการบริหารโรงเรียนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ฯ มีชื่อรูปแบบ คือ “รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงานสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบ ดังนี้ (1) ระดับที่เป้าประสงค์ถูกกำหนด (2) กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ (4) ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจ (5) ธรรมชาติของโครงสร้าง (6) การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม (7) ลักษณะของภาวะผู้นำ และ (8) แบบภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง และ 3) รูปแบบมีความถูกต้องและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
อ่อนยิ้ม ท., สุขประภาภรณ์ ธ. ., & อุปปินใจ ส. . (2024). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสำหรับโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(3), 316–329. https://doi.org/10.2774.EDU2024.3.268557
บท
บทความวิจัย

References

กฤชณรงค์ ด้วงลา. (2562). รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

จิรภัทร มหาวงค์, วิทยา จันทร์ศิลา, และทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4): 114-127.

ธงชัย ดีมูลพันธ์. (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา ในสหวิทยาศึกษาวังสีทา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปรีชา เริงสมุทร์. (2555). แนวทางการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/ blogdiary/26537.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวิริยสาส์น.

ศรประภา พงษ์หัตถาศิลป์. (2557). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2558). ทักษะชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุรางค์ วิสุทธิสระ. (2556). อนาคตภาพการจัดการศึกษาสงเคราะห์ของประเทศไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2556-2565). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566–2570). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2564). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบการเรียนรวม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Bush, T. (2011). Theories of Educational Leadership and Management. (4th ed.). London: SAGE.

Ministry of Education, Thailand. (2021). National education development plan 2021-2030. Thailand: Ministry of Education.

UNESCO. (2020). Education for sustainable development goals: Learning objectives. UNESCO. Retrieved from https://unesdoc.unesco.org

United Nations. (2015). Transforming our world: The 2030 agenda for sustainable development. United Nations. Retrieved from https://sdgs.un.org

World Bank. (2018). World development report 2018: Learning to realize education’s promise. World Bank. Retrieved from https://www.worldbank.org