รูปแบบการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศุภฤทธิ์ ไชยเลิศ
สุวดี อุปปินใจ
พูนชัย ยาวิราช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น 2) สร้างรูปแบบ และ
3) ประเมินรูปแบบ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 303 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากโปรแกรมสำเร็จรูป Sample Size Calculator ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 175 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรูปแบบ จำนวน 30 คน เครื่องมือ ได้แก่ 1. แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC= 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .709 - .776 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง กำหนดประเด็นสัมภาษณ์โดยการใช้ข้อมูลในขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อคำถามโดยที่ปรึกษาการศึกษาอิสระ และ 3. แบบประเมิน
ความถูกต้องและความเป็นไปได้ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC= 0.67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .715 วิเคราะห์ข้อมูลจาก ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


            1) สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของรูปแบบการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของรูปแบบการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอันดับ 1 คือ รูปแบบ
การบริหารแบบผู้ร่วมงาน 2) รูปแบบการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย มีชื่อรูปแบบ คือ “รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน ในการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย” ประกอบด้วย หลักการบริหารโรงเรียน 4 หลักการ วัตถุประสงค์ของการบริหารโรงเรียน 4 วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบของรูปแบบ
การบริหารโรงเรียน 8 องค์ประกอบ ซึ่งประกอบไปด้วย ระดับของการกำหนดเป้าประสงค์, กระบวนการกำหนดเป้าประสงค์, ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์กับการตัดสินใจ, ธรรมชาติของกระบวนการตัดสินใจ, ธรรมชาติของโครงสร้าง, การเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม, ลักษณะของผู้นำ, แบบของภาวะผู้นำที่เกี่ยวข้อง และ 3) รูปแบบมีความถูกต้องและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ไชยเลิศ ศ. ., อุปปินใจ ส. ., & ยาวิราช พ. . (2024). รูปแบบการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จังหวัดเชียงราย. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(3), 354–366. https://doi.org/10.2774.EDU2024.3.268547
บท
บทความวิจัย

References

จิรภัทร มหาวงค์, วิทยา จันทร์ศิลา, และทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(4): 114-127.

ทวีศักดิ์ หงษ์เจริญ, และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2563). ความต้องการจําเป็นของการบริหารโรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว ตามแนวคิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 3(1): 40-60.

ลือชัย ชูนาคา, และวิทยา จันทร์ศิลา. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 18(2): 72-80.

ศุภากร เมฆขยาย. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะอาชีพของสถานศึกษาในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2(2): 93-106.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Bush, T. (2003). Theories of Educational Leadership and Management. (3rd ed.). London: SAGE Publications.

Joyce, B., & Weil, M. (1996). Model of Teaching. (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Office of the Education Council. (2017). The National education plan B.E. 2560-2579 (2017-2036). Bangkok: Office of the Education Council.

Phengsawat, W. (2010). Research on developing models. Rajabhat Sakon Nakhon University Journal. 2(4): 2-14. [In Thai]

Udomsree, T. (2015). The School Management Model to Enhance the Professional Learning Community in Classroom Action Research. (Ph.D. Independent study in Educational Administration Division. Faculty of Education, Chulalongkorn University). [In Thai]